ข้อมูลเชิงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง ความลึกของหลุมเจาะเพื่อทำการทดสอบดิน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ผมเคยได้โพสต์อธิบายในเบื้องต้นถึงหลักในการประเมินในเรื่องของรายละเอียดต่างๆ ของหลุมทดสอบดินให้แก่เพื่อนๆ ไปแล้ว เช่น เรื่องตำแหน่งในการทดสอบดิน เรื่องวิธีในการทดสอบดิน เรื่องความลึกของหลุมเจาะเพื่อทำการทดสอบดิน เป็นต้น เพราะฉะนั้นในวันนี้ผมจะขออนุญาตพูดถึงข้อมูลเชิงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องความลึกของหลุมเจาะเพื่อทำการทดสอบดินกันบ้างนะครับ

 

อย่างที่ทราบกันดีนะครับว่าหากเราจะทำการแบ่งประเภทของฐานรากที่ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักบรรทุกต่างๆ จากอาคารเพื่อถ่ายต่อลงไปสู่ดินเราจะสามารถทำการจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่

 

1.ฐานรากแบบตื้น

2.ฐานรากแบบลึก

 

ดังนั้นในวันนี้ผมอยากที่จะขอเริ่มต้นทำการพูดและอธิบายถึงชนิดของ ฐานรากแบบตื้น (SHALLOW FOUNDATION) เราจะต้องทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่าฐานรากประเภทนี้จะรวมไปถึง PAD FOUNDATION และ RAFT FOUNDATION ด้วยนะครับ โดยที่ผมทำการแบ่งประเภทของ ระยะของการประเมินความลึกของหลุมทดสอบ หรือ ระยะ H ออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ครับ

 

แบบ (A) จะเป็นฐานรากแบบ PAD FOUNDATION โดยหากว่าเราพอที่จะสามารถทำการประเมินหาค่าความกว้างโดยประมาณของฐานราก หรือ ระยะ B ออกมาได้ ระยะความลึกของหลุมเจาะที่เหมาะสมจึงควรมีค่าโดยประมาณอยู่ที่ประมาณไม่น้อยกว่า 1.00 ถึง 3.00 เท่าของระยะ B หรือ อาจจะเขียนง่ายๆ ให้อยู่ภายในรูปแบบของสมการการคำนวณได้ว่า

 

H(A) = B1 ถึง 3.00 x B1

 

แบบ (B) จะเป็นฐานรากแบบ RAFT FOUNDATION โดยหากว่าเราพอที่จะสามารถทำการประเมินหาค่า ความกว้าง โดยประมาณของฐานรากที่ทำหน้าที่รองรับอาคารทั้งหมด หรือ ระยะ B ออกมาได้ ระยะความลึกของหลุมเจาะที่เหมาะสมจึงควรมีค่าโดยประมาณอยู่ที่ประมาณไม่น้อยกว่า 1.50 เท่าของระยะ B หรือ อาจจะเขียนง่ายๆ ให้อยู่ภายในรูปแบบของสมการการคำนวณได้ว่า

 

H(B) = 1.50 x B2

 

แบบ (C) จะเป็นฐานรากแบบ RAFT FOUNDATION อีกเช่นเดียวกัน โดยหากว่าเราพอที่จะสามารถทำการประเมินหาค่า ความยาว โดยประมาณของฐานรากที่ทำหน้าที่รองรับอาคารทั้งหมด หรือ ระยะ B ออกมาได้ ระยะความลึกของหลุมเจาะที่เหมาะสมจึงควรมีค่าโดยประมาณอยู่ที่ประมาณไม่น้อยกว่า 1.00 เท่าของระยะ B หรือ อาจจะเขียนง่ายๆ ให้อยู่ภายในรูปแบบของสมการการคำนวณได้ว่า

 

H(C) = B3

 

โดยหากว่าฐานรากภายในอาคารของเรานั้นเป็นแบบผสมผสาน หรือ พูดง่ายๆ คือ มีการใช้งานฐานรากแบบตื้นหลายๆ แบบในหนึ่งอาคาร ซึ่งก็มีโอกาสพบเจอได้บ้างเหมือนกันนะครับ เราก็เพียงแค่ทำการคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่ผมได้ให้เอาไว้ข้างต้นและสุดท้ายก็ให้นำค่าที่คำนวณได้จากทั้ง 3 กรณี คือ H(A) H(B) และ H(C) มาทำการเปรียบเทียบกัน ทั้งนี้ก็เพื่อหาค่าสูงสุด หรือ H(MAX) เพื่อที่เราจะได้ทราบว่า ความลึกที่เหมาะสมของหลุมทดสอบดินภายในโครงการก่อสร้างของเรานั้นควรที่จะมีค่าอย่างน้อยที่สุด หรือ H(MIN) เท่ากับเท่าใด เพื่อทำการแจ้งไปยังทีมทดสอบดินว่า ให้ทำการทดสอบชั้นดินที่ค่าความลึกจริงๆ หรือ H(TEST) เท่ากับเท่าใด หรือ อาจจะเขียนง่ายๆ ให้อยู่ภายในรูปแบบของสมการการคำนวณได้ว่า

 

H(TEST) > H(MIN)

 

H(MIN) ≥ H(MAX)

 

H(MAX) = MAX[H(A),H(B),H(C)]

 

ยังไงในสัปดาห์หน้าผมจะขออนุญาตมาทำการพูดและอธิบายถึงเรื่อง ความลึกของหลุมเจาะเพื่อทำการทดสอบดินสำหรับฐานรากแบบลึก (DEEP FOUNDATION) กันต่อก็แล้วกันนะครับ หากเพื่อนๆ ท่านใดที่อาจมีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความฉบับนี้ของผมได้ในครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#รายละเอียดวิธีในการประเมินในเรื่องของความลึกของหลุมทดสอบดินของฐานรากแบบตื้น

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com