สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
หลังจากที่เมื่อวันก่อนผมได้กล่าวถึงเรื่องการวิเคราะห์โครงสร้าง (STRUCTURAL ANALYSIS) ให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบกันไปแล้ว และ ผมก็ได้รับคำถามจากน้องนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ในสาขาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ท่านหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องวัสดุที่ใช้ในงานวิศวกรรมโครงสร้างซึ่งจะต่อเนื่องมาจากเนื้อหาที่ผมได้โพสต์ไปแล้วนะครับ ในวันนี้ผมจึงอยากที่จะขออนุญาตมาแชร์ความรู้แก่เพื่อนๆ ถึงเรื่องกำลังของวัสดุ (STRENGTH OF MATERIALS) กันบ้างนะครับ
โดยเรื่องที่ผมจะมากล่าวถึงในวันนี้ก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างค่าหน่วยแรง (STRESS) และ ค่าความเครียด (STRAIN) นั่นเองนะครับ
โดยปกติแล้วทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์หาค่าผลการตอบสนองของโครงสร้างต่อ แรงกระทำ นั้นจะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของค่าหน่วยแรง (STRESS) ที่เรามักจะทำการแทนค่าๆ นี้ด้วยตัวแปร σ นะครับ และ ค่าความเครียด (STRAIN) ที่เรามักจะทำการแทนค่าๆ นี้ด้วยตัวแปร ε หรือ e นะครับ ซึ่งความสัมพันธ์นี้จะเกิดขึ้นในวัสดุภายใต้การกระทำของแรง หรือ นน บรรทุกบนโครงสร้าง ซึ่งโดยปกติแล้ววัสดุที่มีใช้งานกันโดยทั่วๆ ไปในงานวิศวกรรมโครงสร้างชนิดหนึ่งก็คือวัสดุที่มีพฤติกรรมเหมือนกันในทุกทิศทุกทาง (ISOTROPIC MATERIAL) ซึ่งจะมีความเป็นเนื้อเดียวกัน (HOMOGENEOUS) และ มีพฤติกรรมเป็นแบบยืดหยุ่นเชิงเส้นแบบตรง (LINEARLY ELASTIC) ซึ่งคุณสมบัติทางกลของวัสดุดังกล่าวที่เราควรที่จะสนใจจะประกอบด้วย
ค่าโมดูลัสยืดหยุ่น (MODULUS OF ELASTICITY) ที่เรามักจะทำการแทนค่าๆ นี้ด้วยตัวแปร E นะครับ
ค่าโมดูลัสความแกร่ง หรือ โมดูลัสแรงเฉือน (MODULUS OF RIGIDITY หรือ SHEAR MODULUS) ที่เรามักจะทำการแทนค่าๆ นี้ด้วยตัวแปร G นะครับ
ค่าอัตราส่วนปัวซอง (POISSION’S RATIO) ที่เรามักจะทำการแทนค่าๆ นี้ด้วยตัวแปร ν นะครับ
ในรูปที่ผมแนบมาด้วยจะแสดงชิ้นส่วนโครงสร้างขนาดเล็กๆ (ELEMENT) ที่มีความยาว ความกว้าง และ ความหนาเท่ากับหนึ่งหน่วย และ ถูกกระทำ โดยหน่วยแรงดึงในแนวแกน σ ดังที่แสดงในรูป (a) และ หน่วยแรงเฉือน τ ดังที่แสดงในรูป (b) ซึ่งภายใต้ข้อกำหนดข้างต้น ความสัมพันธ์ของหน่วยแรงและความเครียดของชิ้นส่วนโครงสร้างดังกล่าวจะอยู่ในรูปแบบ
E = σ/e และ G = τ/γ
ดังนั้น
e = σ/E และ γ = τ/G
หากวัสดุของเรามีคุณสมบัติเป็นไปตามกฎของฮุค (HOOKIEN MATERIAL) เราจะพบว่าเมื่อโครงสร้างเกิดการเสียรูปไปแล้ว แต่ ปริมาตรของโครงสร้างจะยังคงเท่าเดิมอยู่ หรือ ไม่เปลี่ยนแปลงตามการเสียรูปไปด้วย ดังนั้น
el = – νe = – ν σ/E และ G = E/2(1+ν)
ปล เครื่องหมายลบของความเครียดทางขวาง (LATERAL STRAIN) el จะแสดงการหดตัวทางขวางของชิ้นส่วนโครงสร้างภายใต้แรงดึงนะครับ
เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอกล่าวถึงเนื้อหาในเรื่องนี้ไว้พอสังเขปแต่เพียงเท่านี้ก่อนก็แล้วกันนะครับ เพราะ กลัวว่าเนื้อหานี้จะมากหรือหนักเกินไป ผมคิดว่าเราค่อยๆ มาทำความเข้าใจกันทีละส่วนๆ น่าจะดีกว่านะครับ โดยที่ผมจะมาต่อถึงเรื่อง ชนิด ของวัสดุที่เรานิยมนำมาใช้ในงานวิศวกรรมโครงสร้างนี้กันต่อในวันพรุ่งนี้นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com