เสาเข็มสปันไมโครไพล์ของภูมิสยาม เราควรที่จะใช้เสาเข็มขนาดเท่าใดดี ?

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

สืบเนื่องจากการที่ผมเป็นแอดมินของแฟนเพจของภูมิสยามมาสักพักหนึ่งแล้ว และ ผมมักที่จะสังเกตเห็นได้ว่าบ่อยครั้งเลยที่เพื่อนๆ ของเรามักจะทำการสอบถามเข้ามาหลังไมค์กับทางเพจก็คือ หากต้องการที่จะทำการต่อเติมบ้านพักอาศัยโดยอาศัยเสาเข็มสปันไมโครไพล์ของภูมิสยาม เราควรที่จะใช้เสาเข็มขนาดเท่าใดดี ?

เพื่อเป็นข้อมูลแก่เพื่อนๆ ส่วนใหญ่ของเราในวันนี้ผมจึงอยากที่จะขออนุญาตมาให้คำแนะนำกับเพื่อนๆ ในประเด็นๆ นี้กันนะครับ

ประการแรกนะครับ เพื่อนๆ ควรที่จะให้วิศวกรทำการคำนวณหา นน บรรทุกที่จะลงมายังเสาเข็มของเพื่อนๆ เสียก่อน ซึ่งโดยปกติแล้วหากเราจะทำการต่อเติมอาคารบ้านเรือนของเรา จะ 1 ชั้น 2 ชั้น หรือว่า 3 ชั้น ก็แล้วแต่ หากวิศวกรเลือกวางระยะห่างของตอม่อให้มีความปกติ หรือ พูดง่ายๆ ก็คือ ระยะห่างระหว่างเสาตอม่อนั้นไม่ได้มีระยะที่ห่างกันมากจนเกินไปนั่นเอง นน ที่จะถ่ายลงมายังตัวตอม่อก็จะมีอย่างน้อยตั้งแต่ประมาณ 15 TONS ไปจนถึง 30 TONS ต่อ 1 เสาตอม่อ นะครับ ดังนั้นหากเพื่อนๆ ไม่ให้วิศวกรทำการคำนวณและออกแบบตรงนี้ให้ก็จะทำให้เพื่อนๆ ไม่ทราบนะครับว่า นน ที่จะถูกถ่ายลงมายังตอม่อและเสาเข็มของเรานั้นเป็นเท่าใด แถมการก่อสร้างใดๆ ไม่ว่าจะมีขนาดเล็กเพียงใด หากไม่ได้รับการออกแบบโดยวิศวกรแล้วก็ย่อมมีความเสี่ยงต่อการที่โครงสร้างนั้นๆ จะไม่ปลอดภัยได้นะครับ ดังนั้นทางที่ดีก็ขอแนะนำให้ปรึกษาวิศวกรจะเป็นการดีที่สุดนะครับ

ประการต่อมา เมื่อเพื่อนๆ ทราบแล้วนะครับว่า นน ที่ถูกถ่ายมายังตอม่อและเสาเข็มนั้นมีค่าเท่าใด เราจึงทำการกำหนดค่า SAFE LOAD ของเสาเข็มครับ ซึ่งแน่นอนว่าวิธีการในการที่เราจะทราบได้ว่าค่า SAFE LOAD จริงๆ ของเสาเข็มที่จะใช้ในการตอกลงไปในดิน ในแต่ละพื้นที่นั้นเป็นเท่าใด เราก็ควรที่จะทำ BORING LOG นั่นเองนะครับ เพราะ BORING LOG จะเป็นการนำ ตย ดินขึ้นมาทดสอบหาคุณสมบัติต่างๆ ดังนั้นการทำ BORING LOG จึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการที่จะหาว่าเสาเข็มแต่ละขนาดนั้นควรที่จะช่วงความยาวใดที่เหมาะสมจึงจะสามารถรับ นน บรรทุกที่เกิดขึ้นได้นะครับ

โดยหากว่าเพื่อนๆ ไม่ทำ BORING LOG จริงๆ ก็ไม่ใช่ว่าจะทำการก่อสร้างไม่ได้นะครับ เพียงแต่เพื่อนๆ ก็ควรที่จะเข้าใจและยอมรับความเสียงที่จะเกิดขึ้นให้ได้ และ ทางวิศวกรผู้ออกแบบเองก็ควรที่จะทำการพิจารณาถึงกรณีๆ นี้ด้วย ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ทำการกำหนดค่า SAFE LOAD และค่า SAFETY FACTOR ที่มีความเหมาะสมของเสาเข็มที่จะใช้ด้วยนะครับ

หากเพื่อนๆ จะถามว่าหากเราไม่ทำ BORING LOG เราจะมีทางเลือกอื่นอะไรบ้างที่จะเป็นทางเลือกในการเลือกใช้งานเสาเข็มอีกบ้าง ? ผมขอแนะนำแบบนี้นะครับ

อย่างแรก ควรตรวจสอบดูก่อนว่าค่า SAFE LOAD ที่จะใช้ในเสาเข็มนั้นต้องไม่มากจนเกินไป กล่าวคือไม่ควรเกิน 30 TONS หากค่าๆ นี้สูงกว่า 30 TONS แล้วขอแนะนำว่ายังไงก็ควรทำการทดสอบดินนะครับ หากข้อแรกผ่านเราค่อยขยับไปดูอย่างที่สองนะครับ

อย่างที่สอง คือ ให้เราเลือกจากตารางเสาเข็ม คอร ที่มีการใช้งานโดยทั่วๆ ไปและทำการเปรียบเทียบกันกับเสเข็มสปันไมโครไพล์ วิธีการนี้ก็พอที่จะใช้ได้อยู่ถึงแม้จะมีความเสี่ยงอยู่บ้างก็ตามนะครับ

จากรูป ตย ที่ผมนำมาฝากเพื่อนๆ จะเป็นตารางเสาเข็มตอกที่เป็น คอร ทั่วๆ ไปซึ่งตารางนี้ผมได้นำมาจากหนังสือการออกแบบโครงสร้าง คสล โดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน ของท่านอาจารย์ สมศักดิ์ คำปลิว นะครับ ซึ่งผมเชื่อเหลือเกินว่าวิศวกรโยธาร้อยละ 80 นั้นต้องรู้จักและเคยเปิดอ่านหนังสือเล่มนี้ของท่าน

หาก SAFE LOAD ที่ต้องการนั้นมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 20 ตัน ในตารางของหนังสือเล่มนี้ระบุว่าเราอาจที่จะสามารถเลือกใช้เสาเข็มชนิดสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 180 mm ที่มีความยาวเท่ากับ 21 m ได้ ดังนั้นเราก็อาจที่จะเลือกใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 180 mm โดยที่ควรใช้ความยาวของเสาเข็มมากกว่าที่ตารางนั้นระบุสักเล็กน้อยก็พอได้นะครับ เช่น 22.5 m ถึง 24 m เป็นต้น

หาก SAFE LOAD ที่ต้องการนั้นมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 ตัน ในตารางของหนังสือเล่มนี้ระบุว่าเราอาจที่จะสามารถเลือกใช้เสาเข็มชนิดสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 220 mm ที่มีความยาวเท่ากับ 21 m ได้ ดังนั้นเราก็อาจที่จะเลือกใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 230 mm โดยที่ควรใช้ความยาวของเสาเข็มมากกว่าที่ตารางนั้นระบุสักเล็กน้อยก็พอได้เช่นกันนะครับ เช่น 22.5 m ถึง 24 m เป็นต้น

ปล สาเหตุที่ผมระบุว่าเราสามารถทำเช่นนี้ได้เป็นเพราะว่าในหนังสือเล่มนี้และตารางเสาเข็มที่มีการใช้งานทั่วๆ ไปนั้นจะมีการคำนวณค่าการรับกำลังของเสาเข็มตามที่ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครข้อที่ 67 ได้บัญญัติไว้เป็นเรียบร้อยแล้ว โดยที่กฎระเบียบข้อนี้ได้ทำการระบุเอาไว้ว่า หากไม่มีผลการทดสอบดินในห้องปฏิบัติการ ห้ามมิให้เราใช้กำลังการรับ นน ของเสาเข็มนั้นมีค่าเกินกว่าที่จะคำนวณได้จากวิธีการทีได้ระบุเอาไว้ในข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานครข้อนี้นั่นเองนะครับ

อย่างที่สาม และ อย่างสุดท้าย คือ เราควรที่จะทำการควบคุมงานการตอกเสาเข็มให้ออกมาตรงตามการคำนวณค่า BLOW COUNT ที่ทางวิศวกรของภูมิสยามเป็นผู้คำนวณให้จะเป็นการดีที่สุดนะครับ เพราะ วิศวกรเหล่านี้จะได้รับการแจ้งข้อมูลมานะครับว่า CONDITION ของหน้างานนั้นเป็นเช่นไร ดังนั้นเค้าจะทำการเลือก METHOD ในการคำนวณและค่า SAFETY OF FACTOR ที่มีความเหมาะสมให้กับทางเพื่อนๆ นั่นเองนะครับ

สุดท้ายนี้ผมอยากที่จะขอฝากเพื่อนๆ ไว้อีกสักครั้งหนึ่งนะครับว่า การทดสอบดินนั้นเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการที่จะทำการคำนวณและออกแบบตัวโครงสร้างเสเข็มนะครับ เพราะ หากเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการทำ BORING LOG กับค่าใช้จ่ายของตัวเสาเข็มใน 1 โครงการก่อสร้างแล้วจะพบว่าค่าใช้จ่ายในการทำ BORING LOG นั้นจะมีราคาที่ถูกกว่าเสาเข็มหลายเท่าตัวมากๆ เลยนะครับ ดังนั้นทางที่ดีที่สุด ทั้งเรื่องความปลอดภัย และ ความประหยัด ในการก่อสร้าง เราจึงควรที่จะไม่มองข้ามการทำการทดสอบนี้นะครับ แต่ หากจะไม่ทำการทดสอบดินจริงๆ ก็ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ผมได้ให้ไว้ข้างต้นโดยเคร่งครัดก็จะเป็นการดีที่สุดต่อการก่อสร้างของเพื่อนๆ นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com