การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของการเสริมเหล็กในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ


โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ

จากรูปที่แสดงจะเห็นได้ถึงหน้าตัดของโครงสร้างคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีการเสริมโดยใช้เหล็กเสริมหลักเป็นชั้นคุณภาพ SD50 จำนวน 2 เส้น DB16mm หากว่าในโครงการก่อสร้างแห่งนี้ไม่ได้มีการระบุเอาไว้ว่า ห้ามมิให้มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดต่างๆ ในการเสริมเหล็กในโครงสร้างแต่หากจะเปลี่ยนรายละเอียดใดๆ จะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมและถูกต้องตามหลักการทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างและบังเอิญว่าเพื่อนๆ ต้องมาทำหน้าที่เป็นวิศวกรผู้ควบคุมการทำงานในโครงการนี้ ต่อมาทางผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างได้ทำการแจ้งต่อเพื่อนๆ ว่า ทางผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างมีความจำเป็นที่จะต้องขอทำการเปลี่ยนให้เหล็กเสริมหลักข้างต้นนี้ให้เป็นชั้นคุณภาพ SD40 แทน โดยที่วิธีการที่ใช้ในการเปลี่ยนเหล็กเสริมนั้นก็เพียงแค่ทำการคำนวณโดยการเทียบสัดส่วนโดยตรงระหว่างกำลังของเหล็กชั้นคุณภาพทั้งสอง ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้As req’d = 2 x 2.01 x 5000 / 4000
As req’d = 5.03 CM^(2) ◄ 3DB16mm [∑As = 6.03 CM^(2)]ทางผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างจึงได้ทำการเลือกใช้งานเหล็กขนาด DB16mm ทั้งหมดจำนวน 3 เส้น แทนเหล็กเสริมเดิมเพราะว่าจำนวนของเหล็กเสริมใหม่นั้นจะมีพื้นที่หน้าตัดของเหล็กเสริมเท่ากับ 6.03 CM^(2) ซึ่งก็จะมีค่ามากกว่า 5.03 CM^(2) น่ะครับ

คำถามก็คือหากเป็นเช่นนี้เพื่อนๆ จะยินยอมให้ทางผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างนั้นทำการเปลี่ยนรายละเอียดของการเสริมเหล็กเช่นนี้หรือไม่ ?

#โพสต์ของวันเสาร์
#ถามตอบชวนสนุก
#ปัญหาการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของการเสริมเหล็กในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
ADMIN JAMES DEAN

 

คำตอบ


จากรูปที่แสดงจะเห็นได้ถึงหน้าตัดของโครงสร้างคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีการเสริมโดยใช้เหล็กเสริมหลักเป็นชั้นคุณภาพ SD50 จำนวน 2 เส้น DB16mm หากว่าในโครงการก่อสร้างแห่งนี้ไม่ได้มีการระบุเอาไว้ว่า ห้ามมิให้มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดต่างๆ ในการเสริมเหล็กในโครงสร้างแต่หากจะเปลี่ยนรายละเอียดใดๆ จะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมและถูกต้องตามหลักการทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างและบังเอิญว่าเพื่อนๆ ต้องมาทำหน้าที่เป็นวิศวกรผู้ควบคุมการทำงานในโครงการนี้ ต่อมาทางผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างได้ทำการแจ้งต่อเพื่อนๆ ว่า ทางผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างมีความจำเป็นที่จะต้องขอทำการเปลี่ยนให้เหล็กเสริมหลักข้างต้นนี้ให้เป็นชั้นคุณภาพ SD40 แทน โดยที่วิธีการที่ใช้ในการเปลี่ยนเหล็กเสริมนั้นก็เพียงแค่ทำการคำนวณโดยการเทียบสัดส่วนโดยตรงระหว่างกำลังของเหล็กชั้นคุณภาพทั้งสอง ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้As req’d = 2 x 2.01 x 5000 / 4000
As req’d = 5.03 CM^(2) ◄ 3DB16mm [∑As = 6.03 CM^(2)]

ทางผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างจึงได้ทำการเลือกใช้งานเหล็กขนาด DB16mm ทั้งหมดจำนวน 3 เส้น แทนเหล็กเสริมเดิมเพราะว่าจำนวนของเหล็กเสริมใหม่นั้นจะมีพื้นที่หน้าตัดของเหล็กเสริมเท่ากับ 6.03 CM^(2) ซึ่งก็จะมีค่ามากกว่า 5.03 CM^(2) น่ะครับ

คำถามก็คือหากเป็นเช่นนี้เพื่อนๆ จะยินยอมให้ทางผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างนั้นทำการเปลี่ยนรายละเอียดของการเสริมเหล็กเช่นนี้หรือไม่ ?
เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสย้อนกลับไปอ่านโพสต์ของผมเมื่อวันพุธที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าคำถามข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยใช่มั้ย ดังนั้นเรามาค่อยๆ ทำการวิเคราะห์ทุกๆ ข้อเพื่อหาคำตอบของคำถามในข้อนี้ไปพร้อมๆ กันเลยก็แล้วกันนะครับ

เริ่มแรกเราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าแต่เดิมนั้นทางผู้ออกแบบโครงสร้างนั้นมีเกณฑ์ในการคำนวณเหล็กเสริมออกมาเป็นเช่นใด เราไม่อาจที่จะทราบได้ ดังนั้นเรื่องนี้หากต้องการจะเปลี่ยนจริงๆ จึงควรที่จะสอบถามไปยังผู้ออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างเดิมเพราะหากเพื่อนๆ ลองคำนวณดูว่า สำหรับเหล็กชั้นคุณภาพ SD40 หากนำมาใช้กับหน้าตัดคานนี้จะมีความต้องการปริมาณเหล็กเสริมน้อยที่สุดเท่ากับ
As min = 14 / fy x b x d
As min = 14 / 4000 x 30 x 74
As min = 7.77 CM^(2)

ซึ่งปริมาณเหล็กเสริมดังกล่าวนั้นมีค่าน้อยกว่าปริมาณของเหล็กเสริมที่ทางผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างต้องการที่จะใช้งานนั่นก็คือ 6.03 CM^(2) ซึ่งถึงแม้ว่าปริมาณของเหล็กเสริมดังกล่าวนั้นจะมีค่ามากกว่า 5.03 CM^(2) ก็ตามแต่หากว่าทางผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างนั้นอาศัยวิธีในการคำนวณเพียงเท่านี้ ก็ย่อมต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่อาจจะยอมรับได้ โดยอย่างแย่ที่สุดที่ทางผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างควรจะทำก็คือ การเปลี่ยนแปลงโดยการคำนวณเปรียบเทียบกันกับปริมาณปริมาณเหล็กเสริมน้อยที่สุดที่หน้าตัดนั้นมีความต้องการ ซึ่งก็จะต้องมีค่าที่มากกว่าหรือเท่ากับ 7.77 CM^(2) ซึ่งก็อาจจะได้แก่เหล็กขนาด DB16mm จำนวน 4 เส้น ซึ่งจำนวนของเหล็กเสริมดังกล่าวนั้นก็จะมีพื้นที่หน้าตัดของเหล็กเสริมเท่ากับ 8.04 CM^(2) เป็นต้นนะครับ
ซึ่งตรงนี้เองผมมีความคิดว่าเพื่อนๆ น่าที่จะมองเห็นแล้วว่า เพราะเหตุใดผมจึงได้พยายามที่จะชี้ให้เพื่อนๆ นั้นเล็งเห็นและตระหนักว่า เหตุใดเราจึงไม่สามารถที่จะอาศัยวิธีในการเทียบสัดส่วนระหว่างค่ากำลังของเหล็กเสริมโดยตรงได้ ซึ่งหากจะทำการเปลี่ยนแปลงใดๆ นั้นจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อได้การทำการออกแบบชิ้นส่วนโครงสร้างนั้นๆ ใหม่เท่านั้นน่ะครับ

สรุปก็คือ หากทางผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างนั้นเพียงแค่ทำตามวิธีการข้างต้นก็ยังไม่อาจที่จะยอมรับได้ หากต้องการที่จะทำการเปลี่ยนจริงๆ ก็ควรที่จะสอบถามและแจ้งเรื่องๆ นี้ไปยังผู้ออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างเดิมนั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอาทิตย์
#ถามตอบชวนสนุก
#ตอบปัญหาการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของการเสริมเหล็กในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com