สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างเชิงพลศาสตร์ต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
โดยที่หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกับเรื่อง วิธีในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างของอาคารเพื่อใช้ในการต้านทานแรงที่กระทำจากแผ่นดินไหว นั่นเองนะครับ
โดยหากจะพูดกันถึงหัวข้อๆ นี้จะพบว่าเนื้อหานั้นค่อนข้างที่จะมีความยืดยาวมากพอสมควรเลย ผมจึงตัดสินใจที่จะทำการแบ่งออกเป็นตอนๆ โดยที่ในวันนี้จะเป็นตอนที่ 1 ซึ่งจะเป็นการกล่าวถึง หลักวิธีที่เราใช้ในการออกแบบ นะครับ
หากเมื่อใดก็ตามที่เราพูดถึงแรงกระทำที่เกิดจากสภาวะการเกิดขึ้นของแผ่นดินไหว เราจะต้องอาศัยความพยายามสักเล็กน้อยในการที่จะจินตนาการให้ออกว่า แรงชนิดนี้เสมือนเป็นแรงที่เกิดจากการสั่นตัวของพื้นซึ่งจะทำให้อาคารนั้นเกิด การเคลื่อนที่ไปทางด้านข้าง หรือ เกิดการเซขึ้น ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวนี้จะเป็นสิ่งที่บังคับให้โครงสร้างของอาคารที่เรากำลังพิจารณาออกแบบอยู่นั้นเกิดการเคลื่อนตัวไป โดยหากเราจะทำการออกแบบให้อาคารหนึ่งๆ นั้นสามารถที่จะต้านทานต่อแรงกระทำจากการเกิดแผ่นดินไหวให้ได้ เราจะสามารถทำการแบ่งวิธีในการออกแบบออกได้เป็น 2 วิธีหลักๆ นั่นก็คือวิธี FORCE BASED DESIGN หรือที่เรานิยมเรียกสั้นๆ ว่า FBD และวิธี DISPLACEMENT BASED DESIGN หรือที่เรานิยมเรียกสั้นๆ ว่า DBD นะครับ
โดยหากจะทำการเปรียบเทียบกันระหว่างวิธี FBD และ DBD เราจะสามารถพบเห็นถึงข้อจำกัด ข้อดี ข้อด้อย ของการเลือกใช้งานวิธีในการออกแบบแต่ละวิธี ซึ่งก็จะมีความแตกต่างกันออกไปคนละแง่คนละมุม โดยเราอาจเริ่มจาก
- ค่า DESIGN FORCE หรือ แรงที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างของอาคาร
หากเป็นวิธี FBD ค่าของแรงที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างของอาคารจะอยู่ในช่วง อิลาสติก หารด้วยตัวคูณปรับแก้
ส่วนเมื่อเราใช้วิธี DBD ในการออกแบบ ค่าของแรงที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างของอาคารจะอยู่ในช่วง อินอิลาสติก สลับกันนะครับ
- ค่า DUCTILITY หรือ ความเหนียวของโครงสร้างอาคาร
หากเป็นวิธี FBD เราจะทำการตั้งสมมติฐานว่าค่าความเหนียวของอาคารนั้นจะเกิดขึ้นอย่างเพียงพอเพราะเนื่องจากว่าค่าแรงที่ใช้ในการออกแบบนั้นมีค่าที่ค่อนข้างต่ำ
ส่วนเมื่อเราใช้วิธี DBD ในการออกแบบ เราจะตั้งสมมติฐานว่าค่าระดับของความเหนียวที่อาคารนั้นต้องการจะสามารถกำหนดขึ้นได้จากระยะของการเคลื่อนตัวเป้าหมาย (DISPLACEMENT DEMAND) ที่ทำการตรวจสอบเทียบกันกับสมรรถนะของการเคลื่อนตัวของอาคารนะครับ
- ค่า STRUCTURAL DAMAGE หรือ ความเสียหายของชิ้นส่วนโครงสร้างของอาคาร
หากเป็นวิธี FBD เราอาจจะสามารถเรียกได้ว่า “หลีกเลี่ยง” ค่าความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้นในชิ้นส่วนโครงสร้างใดๆ ที่มีความสลักสำคัญภายในโครงสร้างหลักของอาคารได้ แต่ ต้องหมายเหตุไว้ตรงนี้ด้วยว่า การทำเช่นนี้เป็นเพียงการ “คาดหมาย” เพียงเท่านั้น หรือ พูดง่ายๆ ก็คือเราไม่สามารถที่จะกล่าวได้ 100% ว่าความเสียหายนั้นๆ จะไม่เกิดขึ้นเลยได้อย่างสนิทใจ
ส่วนเมื่อเราใช้วิธี DBD ในการออกแบบจะพบว่าเราจะสามารถทำการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อชิ้นส่วนโครงสร้างที่มีสำคัญๆ ได้อย่างสมบูรณ์เพราะในขั้นตอนของการวิเคราะห์โครงสร้างนั้นเราจะสามารถทราบรูปแบบของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับตัวโครงสร้างได้เลยนะครับ
ในสัปดาห์หน้าผมจะขออนุญาตมาทำการพูดถึงเรื่อง การวิเคราะห์แรงแผ่นดินไหว หรือ SEISMIC ANALYSIS กันต่อ โดยหากมีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความนี้ของผมได้นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#การออกแบบวิศวกรรมโครงสร้างต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหว
#หลักวิธีที่ใช้ในการออกแบบวิศวกรรมโครงสร้างต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหว
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com