สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ
โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นยังคงมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมการคำนวณ และก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ
หน้าตัดของเสาคอนกรีตเสริมเหล็กดังที่ได้แสดงอยู่ในรูปของโพสต์ๆ นี้เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่า หน้าตัดทั้งสามนี้จะมีทุกๆ อย่างที่เหมือนกันหมดเลย เช่น กำลังของวัสดุคอนกรีต ชั้นคุณภาพของเหล็กยืนและเหล็กปลอก ขนาดและระยะห่างของเหล็กปลอก เป็นต้น ทั้งนี้สิ่งที่ทั้งสามหน้าตัดนั้นอาจจะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างนั่นก็คือ “ขนาด” “จำนวน” และ “วิธีในการผูกเหล็ก” ของเหล็กยืนและเหล็กปลอกภายในหน้าตัดของโครงสร้างเสานั่นเองนะครับ
คำถามก็คือ หากผมต้องการที่จะออกแบบและใช้งานโครงสร้างเสาเพื่อที่จะนำไปใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างที่จะต้องทำหน้าที่ในการต้านทานแรงกระทำอันเนื่องมาจากแผ่นดินไหว เพื่อนๆ มีความคิดว่าข้อความจาก 4 ข้อดังต่อไปนี้ ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุด
(1) หน้าตัด (A) ที่เสริมโดยใช้เหล็กยืนเป็นเหล็กเสริมขนาด DB28mm จำนวน 4 เส้น และใช้เหล็กปลอกขนาด RB9mm@150mm จำนวน 2 ปลอก โดยจะโอบรัดเหล็กยืนเฉพาะที่มุมนอกสุด จะทำให้เสามีพฤติกรรมดีที่สุด
(2) หน้าตัด (B) ที่เสริมโดยใช้เหล็กยืนเป็นเหล็กเสริมขนาด DB20mm จำนวน 8 เส้น และใช้เหล็กปลอกขนาด RB9mm@150mm จำนวน 2 ปลอก โดยจะโอบรัดเหล็กยืนเฉพาะที่มุมนอกสุด จะทำให้เสามีพฤติกรรมดีที่สุด
(3) หน้าตัด (C) ที่เสริมโดยใช้เหล็กยืนเป็นเหล็กเสริมขนาด DB20mm จำนวน 8 เส้น และใช้เหล็กปลอกขนาด RB9mm@150mm จำนวน 2 ปลอก โดยจะโอบรัดเหล็กยืนที่ทุกๆ มุมของเหล็กยืน จะทำให้เสามีพฤติกรรมดีที่สุด
(4) ถูกทุกข้อ
#โพสต์ของวันเสาร์
#ถามตอบชวนสนุก
#ปัญหาเรื่องวิศวกรรมแผ่นดินไหว
#หลักการในการเลือกเหล็กยืนในหน้าตัดโครงสร้างเสาที่ดีเพื่อใช้ในการต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหว
เฉลย
คำตอบของปัญหาประจำสัปดาห์นี้ก็คือ ข้อที่ (3) หรือว่าหน้าตัดของเสา คสล ตามแบบ (C) พอผมพูดมาถึงตรงนี้ผมคิดว่าเพื่อนๆ อยากจะทราบเหตุผลกันแล้วใช่หรือไม่ครับ ?
ก่อนที่ผมจะเฉลยปัญหาข้อนี้ ผมอยากจะให้เพื่อนๆ ค่อยๆ ดูไปทีละส่วนๆ โดยเริ่มต้นจากการดูก่อนว่าองค์ประกอบตามเงื่อนไขที่ผมได้ให้ไว้ว่า หน้าตัดทั้งสามของเรานั้นจะมีทุกๆ อย่างที่เหมือนกันหมดเลย เช่น กำลังของวัสดุคอนกรีต ชั้นคุณภาพของเหล็กยืนและเหล็กปลอก ขนาดและระยะห่างของเหล็กปลอก เป็นต้น ซึ่งนั่นก็แสดงว่าสิ่งที่คงเหลือเอาไว้ให้พิจารณาก็จะเหลือเพียงแค่เรื่อง “ขนาด” “จำนวน” และ “วิธีในการผูกเหล็ก” ของเหล็กยืนและเหล็กปลอกภายในหน้าตัดของโครงสร้างเสานะครับ
เรามาเริ่มต้นทำการพิจารณาเรื่องผลในเรื่องของ “ขนาด” ของเหล็กยืนกันก่อน ก็จะพบว่าเหล็กยืนของเสาในรูป (A) นั้นจะเสริมโดยใช้เหล็กยืนเป็นเหล็กเสริมขนาด DB28mm ซึ่งจะมีพื้นที่หน้าตัดเท่ากับ 6.16 SQ.CM/BAR ทั้งหมดจำนวน 4 เส้น ทำให้หน้าตัดของเหล็กยืนนั้นจะมีค่าเท่ากับ
Ast = 6.16 x 4
Ast = 24.64 SQ.CM
ต่อมาก็คือเหล็กยืนของเสาในรูป (B) และ (C) จะมีการใช้ขนาดของเหล็กเสริมที่มีขนาดที่เท่าๆ กัน ซึ่งจะใช้เหล็กยืนเป็นเหล็กเสริมขนาด DB20mm ซึ่งจะมีพื้นที่หน้าตัดเท่ากับ 3.14 SQ.CM/BAR ทั้งหมดจำนวน 8 เส้น ทำให้หน้าตัดของเหล็กยืนนั้นจะมีค่าเท่ากับ
Ast = 3.14 x 8
Ast = 25.12 SQ.CM
สุดท้ายก็คือเหล็กยืนของเสาในรูป (C) นั้นจะเสริมโดยใช้เหล็กยืนเป็นเหล็กเสริมขนาด DB16mm ซึ่งจะมีพื้นที่หน้าตัดเท่ากับ 2.01 SQ.CM/BAR ทั้งหมดจำนวน 12 เส้น ทำให้หน้าตัดของเหล็กยืนนั้นจะมีค่าเท่ากับ
Ast = 2.01 x 12
Ast = 24.12 SQ.CM
จากการคำนวณข้างต้นก็จะพบว่าทั้งสามหน้าตัดนั้นจะมีปริมาณของเหล็กยืนและเหล็กปลอกที่มีความใกล้เคียงกันมากๆ แทบจะไม่ได้มีความแตกต่างกันเลย ดังนั้นก็จะทำให้เหลือเพียงประการสุดท้ายนั่นก็คือเรื่องผลจาก “จำนวน” และ “วิธีในการผูกเหล็ก” เพียงเท่านั้น ซึ่งหากเพื่อนๆ ดูจากในรูปที่สองที่ผมได้ใช้ในการประกอบโพสต์ๆ นี้ก็จะพบว่าหากเราอาศัยการเสริมเหล็กโดยใช้ “จำนวน” ของ “เหล็กยืน” ที่จะได้รับการโอบรัดเอาไว้ด้วย “เหล็กปลอก” ที่มีความเหมาะสมก็จะทำให้เรามี “พื้นที่ของคอนกรีตที่จะได้รับการโอบรัดเอาไว้ด้วยเหล็กปลอกอย่างมีประสิทธิภาพ” หรือว่า EFFECTIVELY CONFINED CONCRETE ที่มีค่ามากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งเราก็อาจจะเรียกค่าๆ นี้ว่าค่า Aecf ก็ได้นะครับ
ทั้งนี้พอเราทำให้หน้าตัดของเรานั้นมีค่า Aecf มากเท่าใด ก็จะยิ่งทำให้หน้าตัดของเรานั้นมีคุณสมบัติที่ดีต่อการรับแรงกระทำจากคลื่นแผ่นดินไหวที่มากตามไปด้วย เช่น หน้าตัดจะมีความเหนียวหรือ DUCTILITY ที่มากยิ่งขึ้น หน้าตัดจะคงความมีเสถียรภาพหรือ STABILITY ต่อการรับแรงแบบวัฏจักรที่มากยิ่งขึ้น เป็นต้นนะครับ
ดังนั้นหากเราพูดถึงเฉพาะทั้งสามหน้าตัดดังในรูปที่ผมนำมาแสดงอยู่ในโพสต์ๆ นี้เราก็พอที่จะทำการสรุปได้ว่า หน้าตัด (C) ที่เสริมโดยใช้เหล็กยืนเป็นเหล็กเสริมขนาด DB20mm จำนวน 8 เส้น และใช้เหล็กปลอกขนาด RB9mm@150mm จำนวน 2 ปลอก โดยที่เหล็กปลอกดังกล่าวจะทำหน้าที่ในการโอบรัดเหล็กยืนที่ทุกๆ มุมของเหล็กยืน ซึ่งผลก็จะทำให้โครงสร้างเสา คสล ของเรานั้นมีพฤติกรรมดีที่สุดต่อการรับแรงกระทำจากคลื่นแผ่นดินไหวเพราะผลจากการผูกเหล็กปลอกนั่นก็คือ จะทำให้เกิดพื้นที่ Aecf ที่มีค่ามากที่สุดจากทั้งสามหน้าตัดนั่นเองครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอาทิตย์
#ถามตอบชวนสนุก
#ตอบปัญหาเรื่องวิศวกรรมแผ่นดินไหว
#อธิบายหลักการในการเลือกเหล็กยืนในหน้าตัดโครงสร้างเสาที่ดีเพื่อใช้ในการต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหว
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com