แนวจุดศูนย์กลางของแรงเฉือนของหน้าตัด

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ

โพสต์ในวันนี้จริงๆ แล้วมีความเกี่ยวข้องกันกับโพสต์ที่ผมได้ทำการอธิบายแก่น้องผู้หญิงท่านหนึ่งไปเมื่อหลายสัปดาห์ก่อนเกี่ยวกับเรื่อง การโก่งตัวของโครงสร้างคานรับแรงดัด ประกอบกับการที่ก่อนหน้านี้ผมเคยได้รับคำถามในทำนองนี้เข้ามาหลายครั้งแล้ว ซึ่งผมทำการสรุปใจความของคำถามข้อนี้ออกได้ดังนี้

หากเราเป็น “วิศวกรผู้ทำหน้าที่ในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง” หรือ “วิศวกรผู้ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานก่อสร้าง” หากเราจะต้องทำการวางโครงสร้างแปเหล็กไปบนโครงสร้างโครงถักที่อยู่ในระนาบเอียงตามในรูป สำหรับในกรณีที่เราไม่สามารถที่จะใช้หน้าตัดของโครงสร้างแปเหล็กให้เป็นแบบ “หน้าตัดแบบปิด” หรือ “CLOSED-WEB SECTION” ได้ด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น หน้าตัดโครงสร้างเหล็กรูปกล่องกลวงแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือ หน้าตัดโครงสร้างเหล็กรูปกล่องกลวงแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือ หน้าตัดโครงสร้างเหล็กรูปกลมกลวง เป็นต้น พูดง่ายๆ ก็คือเราจำเป็นที่จะต้องใช้หน้าตัดของโครงสร้างแปเหล็กให้เป็นแบบ “หน้าตัดแบบเปิด” หรือ “OPEN-WEB SECTION” นั่นเอง เช่น หน้าตัดโครงสร้างเหล็กรูปตัว Z หรือหน้าตัดโครงสร้างเหล็กรูปตัว C เป็นต้น ซึ่งโครงสร้างแปเหล็กของเรานั้นจะคอยทำหน้าที่ในการรับแรงดัดเป็นหลัก คำถามก็คือ ควรวางแปให้เป็นไปตามแบบในรูป (A) รูป (B) รูป (C) หรือรูป (D) ?

 

ดังนั้นเพื่อเป็นการตอบคำถามให้แก่น้องท่านนี้และแก่เพื่อนๆ ของผมบนเฟซบุ๊คหลายๆ ท่านด้วย ผมจึงจะขออนุญาตใช้เวลาและพื้นที่ในการโพสต์ในสัปดาห์นี้และสัปดาห์หน้าในการที่จะอธิบายถึงกรณีๆ นี้นะครับ

 

ก่อนอื่น เพื่อความชัดเจนในการตอบ ผมจะขออนุญาตแยกคำตอบออกตามกรณีของสถานะของการที่เป็น “วิศวกรผู้ทำหน้าที่ในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง” และ “วิศวกรผู้ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานก่อสร้าง” ก็แล้วกันนะครับ

 

เริ่มต้นกันในฐานะของ “วิศวกรผู้ทำหน้าที่ในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง” ก่อน โดยหากเพื่อนๆ เป็นวิศวกรผู้ออกแบบสิ่งๆ หนึ่งซึ่งเพื่อนๆ ควรที่จะทราบเกี่ยวกับเรื่อง หน้าตัดแบบเปิด ก็คือ เรื่องแนวจุดศูนย์กลางของแรงเฉือนของหน้าตัด (เส้นสีม่วงในรูป) หรือ SHEAR CENTER OF SECTION ของหน้าตัดแบบเปิดนั้นจะไม่ได้อยู่ตรงกันกับแนวจุดศูนย์ถ่วงของหน้าตัด (เส้นสีแดงในรูป) หรือ CENTER OF GRAVITY OF SECTION นั่นเอง

 

เมื่อเพื่อนๆ รู้จักค่าๆ นี้แล้วสิ่งที่พวกเรา “พึง” ที่จะทำก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้หน้าตัดแบบเปิดนี้เกิดภาระในการรับน้ำหนักและการโก่งตัวที่ “น้อยที่สุด” ดังนั้นเราก็ควรที่จะทำการวางให้น้ำหนักบรรทุกบนโครงสร้างแปนั้นเกิดการ “เยื้องศูนย์” กับแนวจุดศูนย์ถ่วงของหน้าตัดให้มีค่าเท่ากับศูนย์หรือหากทำเช่นนั้นไม่ได้ก็ควรให้มีค่าๆ นี้มีค่าน้อยที่สุดนั่นเองนะครับ

 

ดังนั้นรูป (A) จะเป็นการที่เราเลือกใช้งานโครงสร้างแปให้เป็นแบบ “หน้าตัดเดี่ยว” หรือหน้าตัดแบบ “ไม่สมมาตร” ซึ่งก็จะทำให้วางน้ำหนักที่เกิดขึ้นในแนวดิ่งบนโครงสร้างแปเหล็กที่ทำให้เกิดระยะเยื้องศูนย์ระหว่างแนวจุดศูนย์ถ่วงของหน้าตัดกับแนวจุดศูนย์กลางของแรงเฉือนที่มากที่สุดจากบรรดาทั้ง 4 รูปนี้

 

ดังนั้นหากเพื่อนๆ มีความจำเป็นใดๆ จริงๆ ที่จะต้องเลือกทำการวางให้หน้าตัดของโครงสร้างแปของเรานั้นเป็นไปตามรูปๆ นี้จริงๆ เพื่อนๆ ก็ควรที่จะต้องทำการคำนึงถึงผลกระทบข้อนี้โดยละเอียดด้วยเช่นกันนะครับ

 

ต่อมารูป (B) จะเป็นการวางน้ำหนักที่เกิดขึ้นในแนวดิ่งบนโครงสร้างแปเหล็กที่ทำให้เกิดระยะเยื้องศูนย์ระหว่างแนวจุดศูนย์ถ่วงของหน้าตัดกับแนวจุดศูนย์กลางของแรงเฉือนที่น้อยลงกว่าในรูป (A) ดังนั้นหากเพื่อนๆ จะทำการออกแบบให้หน้าตัดของโครงสร้างแปของเรานั้นเป็นแบบ “หน้าตัดเดี่ยว” หรือพูดง่ายๆ ก็คือหน้าตัดยังคงมีความ “ไม่สมมาตร” อยู่แต่การเลือกวางตามรูปๆ นี้ก็จะเป็นการดีกว่าการที่เลือกวางตามในรูป (A) มากแต่อย่างไรก็ดีเราก็จะยังคงเห็นได้ว่า ยังคงจะเกิดระยะเยื้องศูนย์อยู่บ้างนะครับ

 

ดังนั้นเราก็มิควรที่จะละเลยผลที่เกิดจากการเยื้องศูนย์นี้ โดยหากไม่ใช้วิธีการวิเคราะห์โครงสร้างโดยวิธีการละเอียด ตอนที่ทำการออกแบบโครงสร้างแปเพื่อนๆ ก็อาจจะเลือกใช้ค่า “สัดส่วนการออกแบบ” หรือ “DESIGN RATIO” ที่ไม่สูงมากนักก็พอได้นะครับ

 

สุดท้ายก็คือรูป (C) และ (D) ซึ่งหากเราเลือกวิธีการวางให้โครงสร้างแปเป็นไปตามรูปๆ นี้แน่นอนว่าเราก็อาจจะสามารถลดขนาดความลึกของหน้าตัดโครงสร้างแปให้เล็กลงมามากกว่าในรูป (A) และ (B) ได้ แต่ ก็ต้องไม่ลืมว่า จะเป็นการส่งผลทำให้ที่หน้างานนั้นจะทำงานยากกว่ามากเพราะจะต้องเสียเวลาในการทำงานการเชื่อมหน้าตัดทั้งสองนี้เข้าด้วยกันนะครับ

 

ซึ่งการเลือกวางหน้าตัดของโครงสร้างแปให้เป็นไปตามรูปๆ นี้ก็จะเป็นการเลือกใช้งานหน้าตัดของโครงสร้างแปของเรานั้นให้เป็นแบบ “หน้าตัดคู่” หรือพูดง่ายๆ ก็คือจะทำให้หน้าตัดของเรานั้นกลายเป็นหน้าตัดแบบที่มีความ “สมมาตร” แล้วแต่ทั้งนี้เพื่อนๆ ก็จะสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยว่า หากเราเลือกวางตามในรูป (C) แนวจุดศูนย์กลางของแรงเฉือนของแต่ละหน้าตัดนั้นจะขยับเข้าไปอยู่ที่ด้านในเมื่อหน้าตัดทั้งสองมาประกบเข้าด้วยกัน ซึ่งนั่นทำให้แนวจุดศูนย์กลางของแรงเฉือนของหน้าตัดหนึ่งๆ นั้นเกือบที่จะซ้อนทับกันกับแนวจุดศูนย์ถ่วงของอีกหน้าตัดหนึ่งเลย ซึ่งหากทำการเปรียบเทียบกันกับในรูป (D) ซึ่งถึงแม้หน้าตัดจะกลายเป็นหน้าตัดแบบสมมาตรแล้วก็ตามแต่ แนวจุดศูนย์กลางของแรงเฉือนของแต่ละหน้าตัดนั้นจะขยับออกไปอยู่ที่ด้านนอกเมื่อหน้าตัดทั้งสองมาประกบเข้าด้วยกัน ซึ่งประเด็นนี้จะเกิดปัญหาขึ้นก็ต่อเมื่อเกิดความ “ไม่สมบูรณ์” ขึ้นในการทำงานเชื่อม หรือ “IMPERFECTION” ดังนั้นหากจะเลือกวางหน้าตัดตามในรูป (D) จริงๆ ก็ควรต้องกำชับกับวิศวกรผู้ควบคุมการทำงานก่อสร้างว่า เราจะต้องมั่นใจได้จริงๆ ว่าช่างเชื่อมที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมเหล็กที่หน้างานนั้นมีฝีมือการเชื่อมอยู่ในระดับที่ดีและไว้วางใจได้จริงๆ นะครับ

 

จบไปแล้วสำหรับความเห็นในฐานของ วิศวกรผู้ทำหน้าที่ในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง ต่อมาผมจะให้ความเห็นในฐานะของ วิศวกรผู้ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานก่อสร้าง บ้างซึ่งจะมีเนื้อหาที่กระชับและสั้นกว่ามาก นั่นเป็นเพราะหน้าที่และขอบเขตการทำงานของ วิศวกรผู้ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานก่อสร้าง นั้นคือ จะต้องปฏิบัติงานก่อสร้างให้เป็นไปตามข้อมูลที่ทาง วิศวกรผู้ทำหน้าที่ในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง นั้นได้กำหนดให้ทำ ทั้งนี้หากในโครงการงานก่อสร้างนั้นๆ วิศวกรผู้ทำหน้าที่ในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง นั้นเป็น วิศวกรผู้ทำหน้าที่ในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง “ที่ดี” ก็จะทำการคำนึงถึงผลตามที่ผมได้อธิบายไปแล้วข้างต้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อีกทั้งยังทำการกำหนดรายละเอียดของทิศทางและรูปแบบของการวางอย่างชัดเจนลงไปในแบบวิศวกรรมโครงสร้างให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งนั่นก็จะเป็นการง่ายสำหรับ วิศวกรผู้ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานก่อสร้าง ในการปฏิบัติงาน แต่ ทั้งนี้หากเกิดปัญหาใดๆ ขึ้นจริงๆ ตัวอย่างเช่น มีความไม่ชัดเจนในแบบวิศวกรรมโครงสร้างในเรื่องทิศทางและรูปแบบของการวางหน้าตัดของโครงสร้างแป หรือ มีปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆ ในการทำงานขึ้น เป็นต้น ก็เป็นหน้าที่ของ วิศวกรผู้ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานก่อสร้าง ที่จะต้องทำการสอบถามไปยัง วิศวกรผู้ทำหน้าที่ในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง แต่ หากติดต่อไม่ได้อีก จะด้วยเหตุผลประการใดก็แล้วแต่และมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการก่อสร้างต่อไปจริงๆ เพื่อนๆ ก็สามารถที่จะใช้แนวทางที่ผมได้ทำการอธิบายไปข้างต้นในโพสต์ๆ นี้เพื่อที่จะตัดสินใจในการทำงานก่อสร้างได้นะครับ

 

เอาเป็นว่าในครั้งต่อไปที่เราจะมาพบกัน ผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายและลงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบในเรื่องรูปแบบของเสียรูปที่เกิดขึ้นในโครงสร้างแปแบบ หน้าตัดแบบปิด และ หน้าตัดแบบเปิด ที่เกิดจากการวางน้ำหนักบรรทุกให้ “ไม่มี” การเยื้องศูนย์และ “มี” การเยื้องศูนย์ออกไปจากแนวจุดศูนย์กลางของแรงเฉือนของหน้าตัดเพิ่มเติมกันอีกสักหนึ่งโพสต์ โดยหากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามได้ในการพบกันครั้งต่อๆ ไปของเราได้นะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

#โพสต์ของวันอังคาร

#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง

#ความรู้เรื่องแนวจุดศูนย์กลางของแรงเฉือนของหน้าตัด

#ครั้งที่1

 

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com