ประโยชน์ของเหล็กเสริมที่ผิวล่าง ซึ่งถูกวางอยู่ในบริเวณจุดรองรับของพื้นคอนกรีตอัดแรง แบบมีแรงยึดเหนี่ยว

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ

เนื่องจากเมื่อในสัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมได้โพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง จุดประสงค์และประโยชน์ของการเสริมเหล็กที่ผิวด้านล่างของแผ่นพื้นที่บริเวณกึ่งกลางช่วงของพื้นคอนกรีตอัดแรงชนิดดึงเหล็กทีหลัง หรือ PRESTRESSED CONCRETE POST-TENSIONED SLAB ไปแล้ว ซึ่งวันนี้ผมเลยคิดว่าจะนำเอาความรู้ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเจ้าพื้นชนิดนี้เอามาฝากเพื่อนๆ กันอีกสักหนึ่งโพสต์นะครับ

 

โดยผมจะขอเริ่มต้นจากประโยชน์ของการเสริมเหล็กที่ผิวด้านล่างของแผ่นพื้นที่บริเวณกึ่งกลางช่วงของพื้นคอนกรีตอัดแรงชนิดดึงเหล็กทีหลังก่อน ซึ่งต้องขอเฉพาะเจาะจงลงไปที่เฉพาะเหล็กล่างที่อยู่จะลอดผ่านบริเวณจุดรองรับเท่านั้น ถูกต้องแล้วเหล็กล่างตรงนี้จะมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า เหล็กเสริมที่ทำหน้าที่ป้องกันการวิบัติแบบต่อเนื่อง หรือ PROGRESSIVE COLLAPSE PREVENTION REINFORCEMENT ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ผมเคยได้ทำการอธิบายไปในโพสต์ก่อนหน้านี้สักพักแล้ว ซึ่งในโพสต์ๆ นั้นผมได้ทำการอธิบายไปโดยมีใจความและเนื้อหาโดยสังเขปว่า สำหรับการออกแบบในยุคสมัยปัจจุบันนั้นนอกจากการออกแบบให้โครงสร้างสามารถที่จะต้านทางแรงกระทำจากแผ่นดินไหวแล้วก็ยังมีการออกแบบเพื่อป้องกันการวิบัติแบบ PROGRESSIVE COLLAPSE ซึ่งถือได้ว่าเป็นความท้าทายวิศวกรโครงสร้างเพราะจริงๆ แล้วการออกแบบนี้อาจเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากปกติน้อยมาก หรือ อาจไม่จำเป็นต้องเสียเลยก็ได้ หากผู้ออกแบบและคนทำงานรู้จักและเข้าใจวิธีในการเสริมเหล็กให้ถูกต้องและเหมาะสม โดยที่หลักการของการเสริมเหล็กพิเศษชนิดนี้จะค่อนข้างง่ายและตรงไปตรงมามากนั่นก็คือ เราจะต้องทำการออกแบบให้มีเหล็กเสริมที่อยู่บริเวณผิวด้านล่างหักขึ้นไปอยู่ที่ผิวด้านบนในปริมาณที่เหมาะสมโดยต้องวิ่งผ่านเข้าไปในแกนของเสา เหล็กล่างนี้จะทำหน้าที่หิ้วแผ่นพื้นไว้ไม่ให้ตกกระแทกลงไปยังชั้นข้างล่าง สามารถป้องกันการเกิด PROGRESSIVE COLLAPSE ได้เป็นอย่างดีครับ

 

สมมติฐานที่ผมจะขอแนะนำให้แก่เพื่อนๆ ได้ใช้นั้นจะเป็นการคำนวณโดยที่จะให้ค่าแรงดึงสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นได้ในเหล็กเสริมพิเศษนี้ ดังนั้นมุมในการหักขึ้นของเหล็กเสริมที่จะแนะนำให้ใช้นั้นก็จะมีค่าเท่ากับ 30 องศา ซึ่งเมื่อแตกแรงจากในแนวดิ่งด้วยมุมๆ นี้ก็จะให้ค่าในการแตกแรงเท่ากับ 0.50 ดังนั้นเมื่อนำเอาค่าๆ นี้ไปหารทั้งพจน์จึงทำให้หน้าตาของสมการนั้นออกมามีค่าเท่ากับ

Asp req’d = Wu x L1 x L2 / ( 2 x Ø x fy )

 

สำหรับกรณีนี้เจ้าเหล็กเสริมพิเศษนี้จะต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดึงแต่ผมจะขอแนะนำให้เพื่อนๆ นั้นใช้ค่า REDUCTION FACTOR หรือ Ø มีค่าเท่ากับ 0.85 เพราะมันมีความเป็นไปได้ว่าลักษณะของการวิบัติของโครงสร้างแผ่นพื้นไร้คานอันเนื่องมาจากแรงเฉือนทะลุนี้อาจจะเป็นรูปแบบการวิบัติแบบที่ไร้ซึ่งความเหนียวหรือที่พวกเรานิยมเรียกกันว่า การวิบัติแบบทันทีทันใด ซึ่งนี่คือเหตุและผลว่าเพราะเหตุใดว่าค่าๆ นี้จึงมีค่าน้อยกว่า 0.90 ซึ่งเป็นค่า Ø ของการที่เหล็กเสริมจะต้องรับแรงดึงอยู่เล็กน้อยและเมื่อเราทำการคำนวณหาปริมาณของเหล็กเสริมนี้เสร็จ เราจะต้องทำการจัดเหล็กเสริมพิเศษนี้ให้กระจายตัวอยู่ในทั้งสองทิศทางที่ตั้งฉากซึ่งกันและกันในปริมาณที่เท่าๆ กันด้วย ส่วนค่า Wu ที่ใช้ให้พิจารณาใช้ค่ามากระหว่างน้ำหนักบรรทุกทั้งหมดแบบเพิ่มค่าจาก LC ปกติ คือ 1.4 x DL+1.7 x LL เปรียบเทียบกับ LC พิเศษอีก LC หนึ่งก็คือ 2 x DL โดยที่ปริมาณเหล็กเสริมที่คำนวณได้นี้ไม่ใช่เหล็กเสริมที่ต้องใส่เพิ่มเติมเข้าไป เราสามารถที่จะใช้เหล็กล่างที่มีอยู่แล้วได้เลยเพียงแต่มีข้อแม้ว่า

(1) เหล็กเสริมพิเศษที่จะใช้จริงจะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 2 เส้น

(2) เหล็กเสริมพิเศษนี้จะทำงานก็ต่อเมื่อต้องวิ่งผ่านแกนของเสาเท่านั้น

 

มาดูตัวอย่างสั้นๆ กันสักหนึ่งข้อ ผมสมมติว่ามีแผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงชนิดดึงเหล็กทีหลังที่มีขนาดความหนาของแผ่นพื้นเท่ากับ 280 มม รับน้ำหนักบรรทุกคงที่เท่ากับ 300 กก/ตร.ม และ นน บรรทุกจรที่เท่ากับ 400 กก/ตร.ม ขนาดความกว้างและยาวของช่วงเสาเท่ากับ 8 ม ขนาดความกว้างยาวของเสาจะมีค่าเท่ากับ 1.00 ม กำหนดให้ใช้เหล็ก SD40 เป็นเหล็กเสริมล่าง

 

เราจะมาคำนวณหาเหล็กเสริมเพื่อป้องกัน PROGRESSIVE COLLAPSE กัน โดยอาจจะเริ่มต้นทำการคำนวณจากค่าน้ำหนักบรรทุกจากกรณีปกติเสียก่อนนะครับ

DL = 0.28 x 2400 + 300 = 972 KSM

LL = 400 KSM

ดังนั้นเราจะเริ่มต้นทำการคำนวณจากค่าน้ำหนัก Wu กันก่อน

Wu1 = 1.4 x 972 + 1.7 x 400 = 2040 KSM

Wu2 = 2 x 972 = 1944 KSM

Wu = MAXIMUM( Wu1 OR Wu2 )

Wu = MAXIMUM( 2040 OR 1944 ) = 2040 KSM

จากนั้นผมก็จะทำการคำนวณหาค่าพื้นที่ๆ เสาต้นดังกล่าวนี้จะต้องรับผิดชอบในการรับน้ำหนักหรือ TRIBUTARY AREA นะครับ

L1 = L2 = 8.00 ม

At = 8 x 8 = 64 M^(2)

สุดท้ายเราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่าปริมาณของเหล็กเสริมพิเศษนี้ออกมาได้ว่าต้องการเท่ากับ

Asp req’d = 2040 x 64 / ( 2 x 0.85 x 4000 ) = 19.20 CM^(2)

หากผมใช้จำนวนของเหล็กเสริมข้ออ้อยขนาด DB20mm ทั้งหมดจำนวน 7 เส้น ดังนั้น n จึงมีค่าเท่ากับ 7 ซึ่งจะมีค่า Asp req’d = 19.20 CM^(2)

C = MINIMUM(C1 OR C2) = 100 CM

ตัวโครงสร้างเสา คสล นั้นจะมี

COVERING = 3 CM

ระยะห่างระหว่างเหล็กเสริมพิเศษนี้ก็จะมีค่าเท่ากับ

S = ( C – 2 x COVERING ) / ( n-1 )

S = ( 100 – 2 x 3 ) / ( 7 – 1 ) = 15.67 CM

ดังนั้นจึงจะใช้ระยะห่างของเหล็กเสริมจริงๆ เท่ากับ 15 CM หรือ 150 MM

 

ดังนั้นเราจะใช้เหล็กเสริมพิเศษจำนวน 7DB20mm@150mm เพื่อเป็นเหล็กเสริมป้องกัน PROGRESSIVE COLLAPSE โดยต้องวิ่งเหล็กจำนวนนี้ให้ผ่านเสา ซึ่งพอทำการคำนวณปริมาณออกมาก็จะพบว่ามีค่าเท่ากับ

Asp app’d = 7 x 3.14 = 21.98 CM^(2)

ซึ่งหากทำการเปรียบเทียบกันกับค่าของปริมาณเหล็กเสริมพิเศษที่ตค้องการก็จะพบว่า

Asp app’d > Asp req’d = 19.20 CM^(2) <<OK>>

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันอังคาร

#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง

#ประโยชน์ของเหล็กเสริมที่ผิวล่างซึ่งถูกวางอยู่ในบริเวณจุดรองรับของพื้นคอนกรีตอัดแรงแบบมีแรงยึดเหนี่ยว

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com