แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ที่มีการใช้ในงานการก่อสร้างโดยทั่วๆ ไป
แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปที่มีการใช้ในงานก่อสร้างโดยทั่วๆ ไปนั้นสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ
(1) แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบ คสล
(2) แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบ คอร
โดยปกติแล้วในการใช้งานแผ่นพื้นสำเร็จรูปไม่ว่าจะเป็นแบบใดๆ ก็ตาม เรามักที่จะทำการก่อสร้างด้วยวิธีการที่มีความคล้ายคลึงกันนะครับ เริ่มต้นจากการนำแผ่นพื้นนี้มาวางพาดตามทิศทางที่ทางผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดมาในแบบวิศวกรรมโครงสร้างบนคานที่ทำหน้าที่รับ นน จากนั้นก็จะทำการตั้งค้ำยันท้องพื้นให้มีความมั่นคงและแข็งแรงเพียงพอ จากนั้นก็จะทำการวางเหล็กเสริมหรือลวดกันร้าวที่ผิวด้านบนของแผ่นพื้น ซึ่งอาจรวมไปถึงเหล็กเสริมพิเศษต่างๆ ที่จุดต่อระหว่างคานที่เราทำการวางแผ่นพื้นด้วยนะครับ จากนั้นก็จะทำการเทคอนกรีตทับหน้า หรือ ที่เรานิยมเรียกกันว่า CONCRETE TOPPING นะครับ และ สุดท้ายก็คือการบ่มผิวหน้าของคอนกรีตนี้ด้วยกระบวนการๆ บ่มใดๆ ก็ได้ที่มีความเหมาะสมครับ
มีจำนวนน้อยครั้งมากๆ นะครับที่ทางผู้ออกแบบจะทำการกำหนดให้การก่อสร้างนั้นมีการใช้งานแผ่นพื้นสำเร็จรูปนี้โดยที่ไม่มี TOPPING เททับที่ด้านบน เพราะ หากว่าเราไม่ทำการเททับที่ด้านบนนี้ด้วย TOPPING แล้ว จะทำให้กำลังการรับ นน ของแผ่นพื้นสำเร็จรูปนี้ลดลงไปมากๆ เลยทีเดียวครับ
โดยเมื่อทางผู้ออกแบบได้ทำการเลือกใช้ระบบแผ่นพื้นสำเร็จรูปในการก่อสร้างอาคาร หากเรามีความต้องการหรือเหตุผลใดๆ ก็ตามแต่ที่ต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงการใช้งาน เช่น เปลี่ยนทิศทางการวางแผ่นพื้น เปลี่ยนจากแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบ คอร เป็น แผ่นพื้นแบบหล่อในที่ เป็นต้น เราควรที่จะตระหนักก่อนนะครับว่าการตัดสินใจดังกล่าวของเราจะส่งผลต่อการรับ นน ของโครงสร้างด้วย ดังนั้นทางที่ดีก่อนที่จะตัดสินใจเปลี่ยนแปลงอะไร ก็ควรที่จะแจ้งหรือสอบถามไปยังผู้ทำการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างก่อนเสมอนะครับ มเช่นนั้นอาจจะส่งผลต่อการรับกำลังของโครงสร้างได้เลยนะครับ
ผมต้องเรียนให้เพื่อนๆ ทราบเสียก่อนว่าโดยทั่วๆ ไปแล้ว แผ่นพื้นที่มีจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดนั้น จำนวนร้อยละ 95 นั้นจะเป็นชนิด แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบ คอร เนื่องด้วยคุณสมบัติของวัสดุที่ผ่านกระบวนการ คอร (PRESTRESSED CONCRETE) นั้นจะส่งผลทำให้หน้าตัดของแผ่นพื้นนั้นมีค่าความแข็งแรงที่มีค่าสูงกว่าโครงสร้าง คสล (REINFORCED CONCRETE) นั่นเองนะครับ ดังนั้นเนื้อหาที่ผมจะโพสต์ต่อไปนี้จึงจะขอพูดถึงเฉพาะแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบ คอร เพียงอย่างเดียวก็แล้วกันนะครับ และ เนื่องด้วยกระบวนการอัดแรงอีกเช่นกันนะครับ หากว่าเพื่อนๆ ไปเดินที่หน้างานและบังเอิญไปพบเห็นว่าแผ้นพื้นสำเร็จรูปแบบ คอร ที่ทาง ผรม สั่งมาใช้ในการวางแผ่นพื้นนั้นมีลักษณะที่โก่งตัวโดยที่เกิดในลักษณะที่งอตัวขึ้น หรือ ไม่ได้มีความราบเรียบ ก็ขอให้เพื่อนๆ อย่าเพิ่งตกอกตกใจอะไรไปนะครับ สาเหตุที่แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบ คอร เป็นเช่นนี้ คือ โก่งงอตัวขึ้นไปเป็นเพราะว่าในขั้นตอนของการอัดแรงก่อน (PRE-TENSIONED) นั้นจะทำให้แผ่นพื้นเกิดลักษณะคล้ายๆ กันกับการที่เราทำการ CAMBER ตัวโครงสร้างนะครับ กล่าวคือ พอเราทำการวางแผ่นพื้นลงไปบนคานรับ นน เราจะเอาแผ่นพื้นด้านที่มีการโก่งตัวขึ้นไว้ที่ด้านบน หลังจากนั้นพอเราค่อยๆ ทำการให้ นน ลงไปบนแผ่นพื้น เช่น ทำการเทคอนกรีต TOPPING ทำการปูพื้นด้วย FINISHING ต่างๆ และ เมื่อแผ่นพื้นเริ่มที่จะรับ นน บรรทุกจรใช้งานบางส่วน (PARTIAL SUPERIMPOSED LIVE LOAD หรือ SLL) เป็นต้น จากนั้นแผ่นพื้นนี้จึงจะค่อยๆ เกิดการรับ นน และจะค่อยๆ โก่งตัวลง ซึ่งการโก่งตัวลงนี้จะเกิดในทิศตรงกันข้ามกับการที่แผ่นพื้นนี้เกิดการโก่งตัวขึ้นในตอนแรกนะครับ ดังนั้นในที่สุดการโก่งตัวในภายหลังนี้จะทำให้ค่าการโก่งตัวในตอนแรกนั้นหายไปในที่สุดครับ
ในวันพรู่งนี้ผมอยากที่จะขออนุญาตมาทำการอธิบายต่อถึงประเภทของแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบ คอร เพิ่มเติมนะครับว่าจะสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 2 ชนิดหลักๆ คือ แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบ คอร ท้องเรียบตัน (PC PLANK SLAB) และ แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบ คอร ท้องเรียบกลวง (PC HOLLOW CORE SLAB) รวมไปถึงจะมาอธิบายด้วยนะครับว่า ระหว่างชนิดของแผ่นพื้นทั้งสองนี้ แบบใดที่จะมีความแข็งแรงและมีความเหมาะสมในการนำมาใช้งานที่มากกว่ากันนะครับ เพื่อนๆ ท่านใดสนใจก็สามารถที่จะติดตามอ่านกันได้นะครับ
หวังว่าความรู้ และ ข่าวสารเล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1577384975640955
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
ทาง
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด
http://www.ไมโครไพล์.com
#Micropile
#SpunMicropile
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์