การหันด้านแกนแข็ง (STRONG AXIS) ของโครงสร้างมาใช้ในการรับแรง
ดูจากรูปภาพประกอบก็แล้วกันนะครับ หากเรามีคานรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งจะมีด้านที่มีระยะที่น้อยเท่ากับระยะ b และ ก็จะมีด้านที่มีระยะที่มากเท่ากับระยะ h หากว่าเราต้องการที่จะให้คานๆ นี้มีความสามารถในการรับ นน ที่จะก่อให้เกิดผลตอบสนองในคานเป็นแรงดัดที่เกิดขึ้นโดยมี ค่าแรงเค้นดัด (BENDING STRESS) ที่น้อย และ มีค่าการโก่งตัว (DISPLACEMENT) ที่น้อยด้วย เราจะต้องทำการเลือกวางให้ระยะ h นั้นอยู่ในแนวตั้ง และ ให้ระยะความกว้าง b นั้นอยู่ในแนวนอน
ซึ่งผมคิดว่าต่อให้ผมไม่โพสต์ประเด็นๆ นี้เพื่อนๆ ทั่วๆ ไปก็คงจะทราบและใช้วิธีการนี้ในการทำการก่อสร้างโครงสร้างคานรับแรงดัดอยู่แล้วนะครับ แต่ เพื่อนๆ ทราบถึงสาเหตุหรือไม่ครับว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ?
คำตอบง่ายๆ ก็คือ การเลือกวางระยะ h นั้นให้อยู่ในแนวตั้ง และ ให้ระยะความกว้าง b นั้นอยู่ในแนวนอน จะทำให้คานๆ นั้นมีค่าโมเมนต์ความเฉื่อย (MOMENT OF INERTIA) ที่สูงกว่าการเลือกวางระยะ h นั้นอยู่ในแนวนอน และ ให้ระยะความกว้าง b นั้นอยู่ในแนวตั้งนะครับ เพราะ สมการในการคำนวณหาค่าโมเมนต์ความเฉือยก็คือ
Ix = W H^(3) / 12
เมื่อ W คือ ค่าความกว้าง และ H คือ ค่าความลึก ของหน้าตัดนะครับ ซึ่งหากแทนค่าตามกรณีล่าสุดที่ผมได้ยก ตย ไปก็จะได้ว่า
b h^(3) /12 > h b^(3) /12
หากเพื่อนๆ จำได้จากโพสต์ในอดีตที่ผมเคยโพสต์ไปก่อนหน้านี้ว่า หากเราทำการสมมติให้คานของเรานั้นรับแรงกระทำเป็นแบบจุด (CONCENTRATED LOAD) หนึ่งจุดที่กึ่งกลางของคาน (MID SPAN) ค่าแรงเค้นดัดสูงสุดที่กึ่งกลางช่วงของคานจะสามารถหาได้จากสมการ
σ = M C / Ix = (P L / 4) c / Ix = P L C / (4 Ix)
ส่วนค่าการโก่งตัวสูงสุดที่กึ่งกลางช่วงของคานจะสามารถหาได้จากสมการ
Δ = P L^(3) / (48 E Ix)
จะเห็นได้ว่าทั้งในสมการในการคำนวณหา ค่าแรงเค้นดัดสูงสุด และ ค่าการโก่งตัวสูงสุด นั้นจะมีค่า Ix เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการ หาร อยู่ในทุกๆ สมการเลยนะครับ ดังนั้นเราอาจที่จะสามารถสรุปได้ว่าคานใดๆ ที่จะมีผลตอบสนองทางด้านความเค้นดัดที่น้อย และ มีค่าการโก่งตัวที่น้อย หรือ พูดง่ายๆ คือมีความแข็งแรงที่มาก คานนั้นๆ จะต้องมีค่า โมเมนต์ความเฉื่อย ที่มีค่ามากนั่นเองนะครับ ก็หวังว่าต่อไปหากเพื่อนๆ ถูกตั้งคำถามว่า เหตุใดจึงเลือกทำการวางความกว้างและความลึกของคานในทิศทางตามที่ผมได้กล่าวถึงข้างต้น เพื่อนๆ ก็จะสามารถนำหลักการที่ผมได้อธิบายไปในโพสต์ๆ นี้ไปใช้ในการตอบคำถามข้อนี้ได้นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1601429559903163
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด
http://www.ไมโครไพล์.com
#Micropile
#SpunMicropile
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์