รูปแบบของคลื่นแผ่นดินไหวที่มีชื่อว่า CHI-CHI EARTHQUAKE
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
เนื่องจากในช่วยปลายของสัปดาห์นี้ไปจนถึงช่วงปลายๆ ของสัปดาห์หน้า แอดมินมีกำหนดการที่จะต้องเดินทางไป ณ ประเทศไต้หวัน เพื่อไปนำเสนอผลงานการทำงานวิจัยในระดับ ป เอก ที่กำลังศึกษาอยู่ ทางแอดมินจึงอยากจะขออนุญาตเพื่อนๆ ทุกคนทำการปรับเปลี่ยนผังและแผนของการโพสต์สักเล็กน้อย ทั้งนี้ก็เพื่อให้แอดมินนั้นสะดวกและเราเราก็ยังจะได้สามารถพบกันได้ในทุกๆ วันเหมือนเช่นเคยได้นั่นเองครับ
วันนี้จะเป็นวันสุดท้ายที่ผมจะอยู่ที่ประเทศไต้หวัน โดยที่จะเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว ยังไงวันนี้ผมจะนำเรื่องน่าสนใจประการหนึ่งมาฝากเป็นความรู้และข้อคิดดีๆ แก่เพื่อนๆ นั่นก็คือเรื่องความใส่ใจในการตรวจวัดค่าต่างๆ ซึ่งก็จะรวมไปถึงค่าขนาดของคลื่นความถี่ในการเกิดแผ่นดินไหวเมื่อเกิดแผ่นดินไหวหนึ่งๆ ขึ้น เหมือนกับในรูปที่ 1 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงรูปแบบของคลื่นแผ่นดินไหวที่มีชื่อว่า CHI-CHI EARTHQUAKE ซึ่งเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ถือได้ว่ามีความรุนแรงมากๆ ที่ได้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1999 ที่ประเทศไต้หวันนั่นเองครับ
ก่อนอื่นๆ ต้องขอย้อนคำพูดของผมก่อนหน้านี้ว่า เนื่องจากเรื่องแผ่นดินไหวในประเทศไต้หวันนั้นเป็นปัญหาที่ใหญ่มากๆ เค้าจึงกล้าที่จะทุ่มงบประมาณมหาศาลให้กับการศึกษาและวิจัยในเรื่องๆ นี้โดยไม่ลังเลเลย ด้วยเหตุนี้เองในประเทศไต้หวันจึงมีการออกคำสั่งจากหน่วยงานต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องให้องค์กรต่างๆ ที่ทำการก่อสร้างอาคารหรือสถานที่ใดๆ ก็แล้วแต่ให้ทำการติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ซึ่งจะทำหน้าที่ในการตรวจวัดค่าต่างๆ เมื่อเกิดคลื่นแผ่นดินไหวขึ้นในหลายๆ อาคารเป็นจำนวนมากๆ เลยละครับ
โดยที่เจ้าเครื่องมือๆ นี้จะมีขนาดที่ไม่ได้ใหญ่โตหรือเกะกะอะไรเลย เหมือนดังตัวอย่างดังเช่นในรูปที่ 2 และ 3 ที่ผมได้นำมาประกอบในโพสต์ๆ นี้ ซึ่งจะเป็นรูปอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการตรวจวัดค่าต่างๆ ซึ่งก็จะรวมไปถึงค่าขนาดของคลื่นความถี่ในการเกิดแผ่นดินไหวเมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในอาคารหลังนี้ ทั้งนี้เค้าจะเลือกทำการติดตั้งเจ้าเครื่องมือๆ นี้โดยวิธีการสุ่มติดตั้งเข้าไปในอาคารต่างๆ ในประเทศไต้หวัน โดยเฉพาะในอาคารที่ที่ถือได้ว่ามีความสลักสำคัญต่อการใช้งานอาคาร นั่นเป็นเพราะว่ายิ่งการที่เราสามารถทำการตรวจสอบชี้วัดได้ว่า แผ่นดินไหวกำลังจะเกิดขึ้นเมื่อใดกับอาคารบ้านเรือนของเราได้ยิ่งมีความรวดเร็วมากเท่าใด ต่อให้ระยะเวลาดังกล่าวนี้จะเป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ ไม่กี่วินาทีก็ตาม แต่นั่นก็ดีเพียงพอแล้วเพราะมันจะส่งผลอย่างมีนัยยะสำคัญต่อความอยู่รอดปลอดภัยหรือความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนที่อยู่อาศัยในอาคารบ้านเรือนนั้นๆ เป็นอย่างมากเลยละครับ
สิ่งที่ผมอยากจะฝากไว้ในวันนี้มีเพียงแค่ข้อความสั้นๆ ว่า สิ่งที่ประเทศไต้หวันได้ทำไปนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ดีและมีความละเอียดรอบคอบเป็นอย่างมากแต่ผมก็เข้าใจดีเช่นกันว่า ในประเทศไทยของเราปัญหาในเรื่องภัยพิบัติที่จะเกิดจากคลื่นของแผ่นดินไหวนั้นอาจจะไม่ถือว่ามีความรุนแรงและส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนมากนัก ยิ่งหากนำเอากรณีของประเทศไทยของเราไปเปรียบเทียบกับกรณีในประเทศไต้หวันด้วยแล้วก็คงจะแตกต่างกันราวฟ้ากับเหวเลย ดังนั้นหากเพื่อนๆ มีโอกาสที่จะได้ร่วมทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งในการก่อสร้างอาคารหนึ่งๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารที่ถูกจัดอยู่ในประเภทอาคารสาธารณะ ไม่ว่าเพื่อนๆ จะเป็น เจ้าของอาคารก็ดีหรือเป็นสถาปนิกผู้ออกแบบและควบคุมการทำงานก็ดีหรือวิศวกรผู้ออกแบบและควบคุมการทำงานก็ดี สิ่งที่ผมอยากจะฝากไว้ให้เพื่อนๆ ได้จดจำและพึงระลึกถึงกันอยู่เสมอก็คือ ผมอยากที่จะขอให้พวกเราทุกๆ คนนั้นได้คิดคำนึงถึงเรื่องภัยพิบัติที่อาจจะเกิดจากคลื่นแผ่นดินไหวด้วยก็จะถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีและควรทำเป็นอย่างยิ่งเพราะแน่นอนว่า การที่เราคิดวิธีในการป้องกันมิให้ปัญหานั้นๆ เกิดขึ้นเอาไว้ก่อน ก็ย่อมที่จะเป็นการดีกว่าการที่เราจะรอให้ปัญหานั้นๆ เกิดขึ้นแล้วเราค่อยมานั่งคิดนั่งทำการแก้ปัญหานั้นๆ ในภายหลัง เพราะจริงๆ แล้วจากผลการตรวจวัดและการทำงานวิจัยเกี่ยวกับแผ่นดินไหวที่มีโอกาสเกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นก็จะพบว่าขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหวนั้นสามารถทำการจำแนกให้อยู่ในประเภทแผ่นดินไหวขนาดกลางหรือ MODERATE EARTHQUAKE เพียงเท่านั้น ซึ่งผลจากการเปรียบเทียบราคาค่าก่อสร้างในหมวดงานวิศวกรรมโครงสร้างของอาคารที่ ไม่ได้รับ และ ได้รับ การคำนึงถึงเรื่องแรงกระทำจากแผ่นดินไหวก็จะพบได้ว่ามีความแตกต่างกันอยู่ในอัตราส่วนที่ถือได้ว่าไม่ได้สูงอะไรมากมายนัก กล่าวคือต่ำที่สุดก็จะอยู่ที่ประมาณ 5% มากที่สุดก็จะอยู่ที่ประมาณ 20% ดังนั้นหากเราทำการคำนึงถึงเรื่องราวดังกล่าวเอาไว้ก่อน ก็ย่อมที่จะส่งผลดีมากกว่าการที่เราปล่อยปละละเลย ไม่สนใจหรือไม่คำนึงถึงเรื่องความรุนแรงของคลื่นแผ่นดินไหวเลย ไม่ว่าจะในแง่ใดๆ ก็ตามครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามมาตรฐาน ISO 45001:2018
2) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
4) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
5) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
7) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
8) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
9) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
10) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
11) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
☎ 082-790-1447
☎ 082-790-1448
☎ 082-790-1449
☎ 081-634-6586