ความรู้เกี่ยวกับการเจาะทดสอบชั้นดิน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาเชิญชวนเพื่อนๆ ให้มาร่วมสนุกตอบคำถามร่วมกัน โดยที่คำถามที่ผมได้เลือกมานั้นจะเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ผมได้ทำการโพสต์ไปในสัปดาห์ที่ผ่านมานั่นก็คือเรื่อง ความรู้เกี่ยวกับการเจาะทดสอบชั้นดิน โดยที่ใจความของคำถามในวันนี้คือ

หากผมมีที่อยู่แปลงหนึ่ง และ ผมมีความต้องการที่จะทำการก่อสร้างอาคารคอนโดมีเนียมที่มีพื้นที่ดังรูป โดยที่อาคารหลังนี้มีความสูงโดยประมาณเท่ากับ 30 เมตรนะครับ

หากว่าเพื่อนๆ ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบงานวิศวกรรมฐานรากในโครงการแห่งนี้ เพื่อนจะทำการกำหนดรายละเอียดของการเจาะสำรวจดินอย่างไร โดยสิ่งที่ผมอยากจะให้เพื่อนๆ นั้นช่วยกันแสดงความคิดเห็นกันเข้ามาคือ

 

ระยะความลึกของหลุมเจาะเท่ากับกี่เมตร จำนวนหลุมเจาะทั้งหมดกี่เมตร และ การเจาะสำรวจนั้นจะทำ ณ ที่ตำแหน่งใดบ้าง โดยเลือกตอบระหว่างข้อ A B C D E F G H I หรือ J 

#การตั้งQUIZทางวิชาการประจำสัปดาห์

#การเจาะสำรวจดิน

 

เฉลย

หากว่าเพื่อนๆ ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบงานวิศวกรรมฐานรากในโครงการแห่งนี้ เพื่อนจะทำการกำหนดรายละเอียดของการเจาะสำรวจดินอย่างไร โดยสิ่งที่ผมอยากจะให้เพื่อนๆ นั้นช่วยกันแสดงความคิดเห็นกันเข้ามาคือ

 

ระยะความลึกของหลุมเจาะเท่ากับกี่เมตร จำนวนหลุมเจาะทั้งหมดกี่หลุม และ การเจาะสำรวจนั้นจะทำ ณ ที่ตำแหน่งใดบ้าง โดยเลือกตอบระหว่างข้อ A B C D E F G H I หรือ J ?

 

ทั้งนี้ผมต้องเรียนตามตรงว่าที่ผมทำการตั้งคำถามเช่นนี้ก็เพื่อที่จะทำการทดสอบเพื่อนๆ ว่ามีความรู้พื้นฐานในเรื่องของการทดสอบดินมากหรือน้อยเพียงใด ก่อนที่ในสัปดาห์หน้าผมจะเริ่มเข้าโพสต์พาเพื่อนๆ เข้าสู่เนื้อหาหลักๆ เกี่ยวกับเรื่องการเจาะสำรวจดิน ดังนั้นไม่ว่าคำตอบของเพื่อนๆ ในวันนี้จะเป็นอย่างไรก็อย่าไปซีเรียสนะครับ คิดเสียว่าผมถามเพื่อเป้นการชิมลางและกระตุ้นทำให้เพื่อนๆ อยากที่จะเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าวเท่านั้นเอง และ ในอาทิตย์หน้าพอผมโพสต์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพื่อนๆ หลายๆ คนอาจจะพบว่าเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ค่อนข้างจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีความใกล้ตัวของพวกเรามากพอสมควรเลยละครับ

 

เอาละครับ เราจะลองมาไขหาคำตอบของปัญหาข้อนี้ไปพร้อมๆ กันทีละข้อๆ จะดีกว่านะครับ โดยอาจเริ่มจากเรื่องการเลือก ระยะความลึกของหลุมเจาะกันก่อนก็ได้

 

หากว่าอาคารของเรานั้นมีความสูงเท่ากับ 30 เมตร หากเฉลี่ยให้ความสูงของชั้น หรือ FLOOR TO FLOOR HEIGHT นั้นเท่ากับ 2.80 ม ก็แสดงว่าอาคารนี้จะมีจำนวนชั้นเท่ากับ

 

30/2.8 = 10.71 ≈ 11 ชั้น

 

ซึ่งจะเข้าข่ายกรณีของอาคารที่ที่มีความสูงไม่เกิน 15 ชั้น ซึ่งควรใช้ความลึกของหลุมเจาะอยู่ที่ประมาณ 40 เมตร ถึง 45 เมตร ดังนั้นผมจะทำการกำหนดให้ความลึกของหลุมเจาะเท่ากับ 40 เมตร

 

คำถามต่อมาคือ จำนวนหลุมเจาะทั้งหมดกี่หลุม และ การเจาะสำรวจนั้นจะทำ ณ ที่ตำแหน่งใดบ้าง โดยเลือกตอบระหว่างข้อ A B C D E F G H I หรือ J เรามาว่ากันทีละข้อนะครับ

 

ก่อนอื่นหากเราสังเกตดูเอาจากรูปจะเห็นได้ว่า อาคารของเรานั้นจะมีลักษณะรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยที่แนวด้านยาวของอาคารก็จะวางตัวตามแนวยาวของที่ดิน และ ผมได้กำหนดเอาไว้ในโจทย์แล้วว่าภายในสถานที่ก่อสร้างแห่งนี้ ผมมีความต้องการที่จะทำการสร้างอาคารเพียง 1 อาคารเท่านั้น ดังนั้นไม่ว่าเพื่อนๆ จะเลือกข้อใดเป็นคำตอบก็ตามก็ขอให้ทราบและเข้าใจเอาไว้ว่า ไม่มีข้อใดที่เลือกแล้วถือว่า ผิด หรือ ถูก เพราะทั้งนี้สิทธิในการกำหนดจำนวนจุดและตำแหน่งของการเจาะสำรวจนั้นเป็นของวิศวกรผู้ออกแบบเป็นหลัก ซึ่งในวันนี้ผมจะขออนุญาตทำการวิจารณ์ถึงการเลือกในแต่ละข้อกันนะครับ

 

หากเลือกข้อ A จำนวนหลุมเจาะทั้งหมด 1 จุด โดยที่ตำแหน่งของการเจาะนั้นจะอยู่ที่กึ่งกลางของสถานที่ก่อสร้างเลย และ จะอยู่ที่ตำแหน่งกึ่งกลางของอาคารอีกด้วย ดังนั้นหากเราเลือกข้อนี้ก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการเจาะสำรวจดินแบบขั้นต่ำจริงๆ ซึ่งการเจาะสำรวจแบบนี้ก็ไมได้ผิดกติกาแต่อย่างใด เพราะ หากเราทราบถึงข้อแนะนำในเรื่องของจำนวนของหลุมเจาะเราจะพบว่า มีความต้องการๆ ทำหลุมเจาะที่ตำแหน่งที่ถือได้ว่ามีความสำคัญมากที่สุดของอาคารหรือฐานราก เช่น บริเวณที่มีการถ่ายน้ำหนักลงมามากที่สุดซึ่งก็คือบริเวณกึ่งกลางของอาคาร โดยที่อาคารที่สูงสุดในพื้นที่ๆ ทำการก่อสร้างจะต้องมีหลุมเจาะอย่างน้อย 1 จุดครับ

 

หากเลือกข้อ B จำนวนหลุมเจาะทั้งหมด 4 จุด โดยที่ตำแหน่งของการเจาะนั้นจะอยู่ที่แต่ละมุมของสถานที่ก่อสร้างเลย และ จะไม่ได้มีการวางอยู่บนตำแหน่งของอาคารเลย ดังนั้นหากเราเลือกข้อนี้ก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการเจาะสำรวจดินแบบที่มากจนเกินความจำเป็นเกินไปหน่อย แต่ ถามว่าข้อมูลที่ทำการเจาะสำรวจมานั้นสามารถนำมาใช้ได้หรือไม่ ก็ต้องตอบว่าน่าจะได้ครับ เพราะ โอกาสที่ชั้นดินข้างล่างจะเกิดเป็นแอ่งกระทะภายในพื้นที่ๆ มีความคับแคบแบบนี้ก็ดูจะเป็นเรื่องที่มีความเป็นไปได้ยากมากๆ เลย ซึ่งการเจาะสำรวจแบบนี้จะมีความเหมาะสมก็ต่อเมื่อโจทย์ได้ระบุว่าในอนาคตอาจมีการสร้างอาคารอื่นๆ รอบๆ อาคารหลังนี้นะครับ

 

หากเลือกข้อ C หรือ D จำนวนหลุมเจาะทั้งหมด 5 จุด โดยที่ตำแหน่งของการเจาะนั้นจะอยู่ที่แต่ละมุมของสถานที่ก่อสร้าง และ ที่กึ่งกลางของอาคารอีกด้วยเลย ดังนั้นหากเราเลือกข้อนี้ก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการเจาะสำรวจดินแบบที่เรียกได้ว่าครอบคลุมการออกแบบและก่อสร้างที่สุดเลย แต่ จริงๆ การเจาะสำรวจแบบนี้จะถือว่าไม่เหมาะสมอยู่ดีเพราะโจทย์เองได้ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่าเรามีความต้องการที่จะทำการสร้างอาคารเพียง 1 อาคารเพียงเท่านั้นน่ะครับ

 

หากเลือกข้อ E F G หรือ H จำนวนหลุมเจาะทั้งหมด 2 จุด โดยที่ตำแหน่งของการเจาะนั้นจะอยู่ที่ มุม หรือ ด้าน ใดด้านหนึ่งของสถานที่ก่อสร้าง และ จะไม่ได้มีการวางอยู่บนตำแหน่งของอาคารเลย ดังนั้นหากเราเลือกข้อนี้ก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการเจาะสำรวจดินแบบที่มีจำนวนที่น้อยจนเกินไป เพราะ มีข้อแนะนำหนึ่งที่เราควรที่จะต้องพึงระลึกถึงอยู่เสมอนั่นก็คือ ภายในพื้นที่ของอาคารที่จะทำการก่อสร้างนั้นจำเป็นจะต้องมีหลุมเจาะอย่างน้อย 1 จุด ซึ่งทั้ง 4 ข้อถือได้ว่าไม่เป็นเช่นนั้นเลยน่ะครับ

 

หากเลือกข้อ I จำนวนหลุมเจาะทั้งหมด 3 จุด โดยที่ตำแหน่งของการเจาะนั้นจะอยู่ที่ กึ่งกลาง และ ด้านยาว ของสถานที่ก่อสร้าง ดังนั้นหากเราเลือกข้อนี้ก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการเจาะสำรวจดินแบบที่เราเรียกได้ว่า มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพราะ ตำแหน่งที่จะทำการเจาะสำรวจดิน และ ตำแหน่งของการก่อสร้างอาคารนั้นจะมีความสอดคล้องซึ่งกันและกัน ที่สำคัญคือถูกต้องและตรงตามคำแนะนำที่ผมได้กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้อีกด้วย

 

หากเลือกข้อ J จำนวนหลุมเจาะทั้งหมด 3 จุด โดยที่ตำแหน่งของการเจาะนั้นจะอยู่ที่ กึ่งกลาง และ ด้านสั้น ของสถานที่ก่อสร้าง ดังนั้นหากเราเลือกข้อนี้ก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการเจาะสำรวจดินแบบที่เราเรียกได้ว่า เกือบที่จะมีความคุ้มค่า เพราะ ตำแหน่งที่จะทำการเจาะสำรวจดิน และ ตำแหน่งของการก่อสร้างอาคารนั้นจะไม่ค่อยมีความสอดคล้องซึ่งกันและกัน ทั้งนี้หากว่าชั้นดินข้างล่างนั้นเกิดกรณีที่มีความแปรปรวนมากๆ ก็มีโอกาสที่การเจาะสำรวจดินของเราอาจจะทำไม่ครอบคลุมพื้นที่ๆ จะการก่อสร้างอาคารของเรา ถึงแม้ว่าเรื่องตำแหน่งของการเจาะสำรวจนั้นจะมีความถูกต้องและตรงตามคำแนะนำที่ผมได้กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้น่ะครับ

 

สรุป หากว่าข้อมูลของงานก่อสร้างในโครงการแห่งนี้เป็นไปตามที่ผมได้แจ้งเอาไว้ทุกๆ อย่างผมก็จะเลือกทำการเจาะสำรวจดินที่ความลึกของหลุมเจาะเท่ากับ 40 เมตร ทั้งหมดจำนวน 3 จุด โดยที่ตำแหน่งที่ผมจะทำการเลือกเจาะสำรวจก็จะตรงกันกับข้อ I นั่นเองนะครับ

 

ก่อนจะจากกันไปในวันนี้ผมจะขอเน้นย้ำกันอีกสักครั้งก็แล้วกันนะครับว่า ไม่ว่าเพื่อนๆ จะเลือกข้อใดเป็นคำตอบก็ตามก็ขอให้ทราบและเข้าใจเอาไว้ว่า ไม่มีข้อใดที่เลือกแล้วถือว่า ผิด หรือ ถูก เพราะทั้งนี้สิทธิในการกำหนดจำนวนจุดและตำแหน่งของการเจาะสำรวจนั้นเป็นของวิศวกรผู้ออกแบบเป็นหลัก อย่างไรผมจะขออนุญาตนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันกับโพสต์ๆ นี้มาอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ในโอกาสต่อๆ ไปก็แล้วกันนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#การตอบคำถามทางวิชาการประจำสัปดาห์

#การเจาะสำรวจดิน

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com