สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
เนื่องจากเมื่อไม่นานมานี้ได้มีเพื่อนท่านหนึ่งที่เป็นแฟนเพจที่น่ารักของพวกเราได้ให้ความกรุณาทำการสอบถามปัญหาเข้ามาข้อหนึ่งทางอินบ็อกซ์ของเพจโดยมีใจความของคำถามว่า
“เพราะเหตุใดพอทำการสำรวจภายในส่วนของโครงสร้างเสาเข็มไมโครไพล์ของทางบริษัทภูมิสยามจึงไม่พบว่ามีการใช้ลวด PC WIRE หรือลวดอัดแรงเลยครับ?”
ผมคิดว่าเมื่อเพื่อนๆ เจอกับคำถามๆ นี้เหมือนกันกับผม หลายๆ คนก็คงจะมีคำตอบในใจอยู่แล้วแต่อีกหลายคนก็คงจะไม่ทราบคำตอบ ซึ่งก็ไม่เป็นไร วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการคลายข้อสงสัยในประเด็นๆ นี้ให้เองครับ
ก่อนอื่นผมขออ้างอิงไปที่เอกสารฉบับหนึ่งนั่นก็คือ เอกสารเสาเข็มและการคำนวณการรับน้ำหนักของเสาเข็ม ที่ออกโดยกลุ่มงานวิเคราะห์วิจัยและพัฒนา สำนักควบคุมการก่อสร้าง กรมโยธาธิการและผังเมือง พฤศจิกายน 2547 หน้าที่ 2 หัวข้อที่ 3 หรือชนิดของเสาเข็ม หัวข้อย่อยที่ 3.2 เสาเข็มคอนกรีตหล่อสำเร็จ โดยที่ในเนื้อหานั้นได้ระบุเอาไว้โดยมีใจความดังรายละเอียดต่อไปนี้
เสาเข็มคอนกรีตหล่อสำเร็จตามปกตินั้นเรามักที่จะทำการหล่อเสาเข็มให้เสร็จตั้งแต่อยู่ในโรงงานผลิตเสียก่อน เมื่อคอนกรีตได้อายุแล้วเราก็ค่อยทำการขนย้ายเสาเข็มออกจากโรงงานไปยังสถานที่ก่อสร้างหรือในบางครั้งเราก็อาจจะดำเนินการหล่อเสาเข็มภายในบริเวณที่ทำการก่อสร้างเลยก็ได้ โดยที่เสาเข็มคอนกรีตหล่อสำเร็จนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ก็คือ
3.2.1 เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือ REINFORCED-PRECAST CONCRETE PILE
เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กจะมีรูปร่างเป็นแบบใดก็ได้แล้วแต่ว่าเราจะทำการออกแบบให้เป็นรูปทรงใด แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ออกแบบควรที่จะออกแบบให้จุดศูนย์ถ่วงของหน้าตัดของเสาเข็มนั้นทับกันกับจุดศูนย์กลางของเสาเข็ม เหล็กเสริมตามความยาวจะต้องมีปริมาณที่พอเพียงที่จะรับโมเมนต์ดัดเนื่องจากการขนส่งและยกตอกได้และจะต้องมีจำนวนอย่างน้อย 4 เส้น โดยที่เส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กเสริมไม่ควรมีขนาดเล็กกว่า 9 มิลลิเมตร สำหรับเหล็กปลอกอาจเป็นปลอกแบบพันหรือแบบปลอกเดี่ยวก็ได้ ทั้งนี้ต้องทำการเสริมเหล็กปลอกบริเวณปลายและโคนของเสาเข็มให้มาก เพราะทั้งที่โคนและที่ปลายของเสาเข็ม อาจจะเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากแรงกระแทกที่เกิดขึ้นได้ สำหรับการทำให้คอนกรีตแน่น เราอาจจะใช้เครื่องเขย่าคอนกรีตหรืออาจใช้เป็นแบบชนิดแรงเหวี่ยง (SPUN) ก็ได้ โดยที่จำนวนเปอร์เซ็นต์ของเหล็กปลอก เมื่อเทียบกับปริมาตรคอนกรีตในช่วงนั้นๆ ไม่ควรน้อยกว่าที่กำหนดในรูปของโพสต์ๆ นี้ครับ
3.2.2 เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง PRESTRESSED-PRECAST CONCRETE PILE
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงอาจจะมีรูปร่างและหน้าตัดเหมือนกันกับเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กได้แต่เสาเข็มประเภทนี้จะได้เปรียบกว่าตรงที่สามารถจะทำได้มีขนาดที่ยาวกว่าและมีพื้นที่หน้าตัดที่เล็กกว่า สำหรับเหล็กเสริมตามยาวนั้นมักจะใช้เป็นลวดเหล็กรับแรงดึงได้สูงตาม มอก. 95- 2517 หรืออาจจะใช้ลวดเหล็กตาม ASTM 416-59 T หรือ JIS G 3536-1971 ก็ได้ครับ
ในขณะที่จะทำการดึงลวดเหล็กหรือเชือกเหล็กจะต้องใช้แรงดึงที่ไม่มากกว่า 0.70fs’ โดยที่ fs’ คือ ความเค้นดึงสูงสุดของเชือกหรือลวดเหล็กและหลังจากการตัดลวดเหล็ก ส่วนคอนกรีตก็จะต้องมีความสามารถที่จะรับความเค้นอัดได้ไม่น้อยกว่า 0.45fc’ โดยที่ fc’ คือ ความเค้นอัดสูงสุดของคอนกรีตรูปทรงกระบอกที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 150 มม สูง 300 มม เมื่อคอนกรีตมีอายุได้ 28 วัน และค่าความเค้นดึงประสิทธิผลก็จะต้องมีค่าไม่มากกว่า 0.60fs’
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงจะมีอยู่สองชนิดด้วยกัน คือ ชนิดดึงลวดเหล็กก่อน แล้วค่อยทำการหล่อคอนกรีตทีหลัง กับ ชนิดหล่อคอนกรีตก่อน แล้วค่อยดึงลวดเหล็กทีหลัง แต่สำหรับในบ้านเราๆ มักนิยมที่จะทำเป็นชนิดดึงลวดเหล็กก่อนแล้วค่อยทำการหล่อคอนกรีตทีหลังครับ
ผมขออ้างอิงไว้แต่เพียงเท่านี้ก็น่าจะพอแล้วนะครับ ดังนั้นหากจะสรุปก็คือ เสาเข็มไมโครไพล์ของบริษัทภูมิสยามนั้นจะเป็นไปตามข้อที่ 3.2.1 หรือ เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยที่สาเหตุที่ทางบริษัทเลือกทำการผลิตเป็นเสาเข็มประเภทนี้ก็เพราะจุดประสงค์หลายๆ อย่าง เช่น ต้องการที่จะทำให้ขนาดของท่อนของเสาเข็มนั้นมีขนาดสั้นๆ เหมาะแก่การลำเลียงนำเข้าไปตอกภายในบ้านเรือนหรืออาคารที่มีช่องเปิดแคบๆ ได้ เป็นต้น จากเหตุผลข้างต้นก็เท่ากับว่า ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่เราจะต้องใช้ประโยชน์จากการอัดแรงเข้าไปในคอนกรีตเลย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เพื่อนๆ จะไม่พบลวดอัดแรงอยู่ภายในหน้าตัดของเสาเข็มเลยนั่นเองครับ
ดังนั้นก็ขอให้เพื่อนๆ ทุกคนนั้นสามารถที่จะสบายใจและวางใจได้เลยนะครับเพราะทางภูมิสยามเราได้ทำการออกแบบตัวโครงสร้างเสาเข็มเป็นอย่างดี ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้เสาเข็มของเรานั้นสามารถที่จะตอบสนองต่อความต้องการในทุกๆ มิติของการใช้งานเสาเข็มให้แก่ทางลูกค้าทุกๆ ประเภทของเราเลยครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ
#อธิบายว่าเพราะเหตุใดเราจึงไม่พบลวดอัดแรงอยู่ภายในหน้าตัดของเสาเข็มไมโครไพล์ของภูมิสยามเลย
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com