สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ
เนื่องจากเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมานั้นผมได้ทำการตั้งคำถามประจำสัปดาห์ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง การคำนวณหาค่าระยะการเสียรูปในทิศทางของแนวดิ่งมากที่สุดหรือ MAXIMUM VERTICAL DISPLACEMENT ภายในโครงสร้างคานที่มีลักษณะเป็นแบบช่วงเดียวหรือ SIMPLE BEAM โดยที่ในปัญหาข้อนั้นผมได้อ้างอิงถึง “ตำแหน่ง” ที่จะเกิดค่าดังกล่าวว่าจะอยู่ที่ระยะ “3.085 เมตร” จากปลายซ้ายมือของคาน ซึ่งวันนี้ผมจะมาทำการอธิบายว่า ผมทราบได้อย่างไรว่าระยะดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นที่ตำแหน่งนี้ให้เพื่อนๆ ได้ทำความเข้าใจและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันนะครับ
หลักการที่ผมนำมาใช้ก็จะเป็นไปตามที่ผมเคยได้โพสต์ไปก่อนหน้านี้ว่า ตำแหน่งที่คานนั้นจะมีค่าของการเสียรูปในทิศทางของแนวดิ่งมากที่สุดก็คือ ตำแหน่งที่คานนั้นมีมุมหมุนหรือ ROTATION DISPLACEMENT มีค่าเท่ากับศูนย์ ดังนั้นเพียงแค่เราสามารถทำการคำนวณออกมาให้ได้ว่า ตำแหน่งใดที่คานนั้นจะมีมุมหมุนที่เท่ากับศูนย์ เราก็จะสามารถทำการคำนวณออกมาได้ในทันทีเลยว่า คานของเรานั้นจะมีค่าของการเสียรูปในทิศทางของแนวดิ่งมากที่สุดเท่ากับเท่าใดนะครับ
สำหรับวิธีการที่เราจะใช้ในการคำนวณหาตำแหน่งที่มุมหมุนนั้นมีค่าเท่ากับศูนย์ก็มีหลายวิธีการ ซึ่งหากเพื่อนๆ ถนัดวิธีการใดก็เชิญใช้ได้ตามอัธยาศัยเลยแต่สำหรับผม ผมถนัดวิธีการเชิงพลังงานดังนั้นผมจะใช้วิธีการ CASTIGLIANO’S 2ND THEOREM ในการคำนวณหาตำแหน่งนี้และต่อมาเมื่อทราบตำแหน่งแล้ว ผมก็ยังจะอาศัยวิธีการนี้ในการคำนวณหาค่าการเสียรูปในทิศทางของแนวดิ่งมากที่สุดของคานโดยวิธีการนี้อีกด้วย ยังไงผมอยากให้เพื่อนๆ ดูจากรูปประกอบในโพสต์ๆ นี้ไปพร้อมๆ กันนะครับ
โดยที่ผมเริ่มจากการคำนวณเหมือนวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า ระยะตำแหน่งของการเสียรูปในทิศทางของแนวดิ่งมากที่สุดเนื่องจากแรงกระจายตัวแบบสม่ำเสมอหรือ UNIFORMLY DISTRIBUTED LOAD นั้นจะอยู่ที่ตำแหน่งกึ่งกลางของคานหรือเท่ากับ 3.000 เมตร (จากปลายซ้ายมือของคาน) และระยะตำแหน่งของการเสียรูปในทิศทางของแนวดิ่งมากที่สุดเนื่องจากแรงกระทำแบบจุดหรือ CONCENTRATED LOAD นั้นจะอยู่ที่ตำแหน่ง 3.266 เมตร (จากปลายซ้ายมือของคาน) ดังนั้นผมจะทราบได้ในทันทีแล้วว่าระยะที่จะเกิดค่าการเสียรูปในทิศทางของแนวดิ่งมากที่สุดเมื่อนำเอากรณีของน้ำหนักบรรทุกทั้งสองมาอยู่รวมกันหรือ Lx นั้นจะต้องมีค่าอยู่ระหว่าง 3.000 เมตร และไม่เกิน 4.000 เมตร อย่างแน่นอน
ดังนั้นผมจึงทำการแทนให้มีแรงกระทำที่เป็นโมเมนต์มีค่าเท่ากับ Mc’ และ แรงกระทำที่เป็นแบบจุดมีค่าเท่ากับ Pc’ โดยที่แรงทั้งสองนี้จะกระทำอยู่ที่ระยะ Lx โดยที่ระยะ Lx นั้นจะมีค่าอยู่ระหว่าง 3.000 เมตร และไม่เกิน 4.000 เมตร จากนั้นผมก็จะอาศัยวิธีการคำนวณของ CASTIGLIANO’S 2ND THEOREM เพื่อที่จะคำนวณหาค่าของมุมหมุนซึ่งจะมีค่าเท่ากับ “ศูนย์” โดยการที่เราทำการรวมผลสมการที่จะทำการอินทิเกรตเทอมของสมการโมเมนต์ที่คูณกันกับสมการโมเมนต์ที่ถูก PARTIAL DIFFERENTIATE ด้วยค่า Mc’ นะครับ
สุดท้ายแล้วในเมื่อแรง Mc’ และ Pc’ นั้นไม่ได้มีอยู่จริง ในที่สุดเราก็จะทำการแทนค่าแรงทั้งสองให้มีค่าเท่ากับศูนย์ ก็จะทำให้เราได้ผลจากสมการของการอินทิเกรตที่ทำการติดค่า Lx เอาไว้ ซึ่งเราก็จะทำการแทนค่าผลของสมการดังกล่าวนี้หรือก็คือ “ค่าของมุมหมุน” ให้มีค่าเท่ากับศูนย์ ซึ่งสุดท้ายเราก็ทำการแก้สมการออกมาได้ว่าตำแหน่ง c’ นั้นจะอยู่ที่ระยะ Lx เท่ากับ 3.085 เมตร (จากปลายซ้ายมือของคาน) นั่นเองนะครับ
โดยเมื่อทำการแทนค่า Lx ลงไปเท่ากับ 3.085 เมตร (จากปลายซ้ายมือของคาน) จากนั้นผมก็จะอาศัยวิธีการคำนวณของ CASTIGLIANO’S 2ND THEOREM เพื่อที่จะทำการคำนวณหาค่าของการเสียรูปในทิศทางของแนวดิ่ง ณ ตำแหน่งนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยการที่เราจะทำการรวมผลสมการที่จะทำการอินทิเกรตเทอมของสมการโมเมนต์ที่คูณกันกับสมการโมเมนต์ที่ถูก PARTIAL DIFFERENTIATE ด้วยค่า Pc’ นะครับ
สุดท้ายแล้วในเมื่อแรง Mc’ และ Pc’ นั้นไม่ได้มีอยู่จริง ในที่สุดเราก็จะทำการแทนค่าแรงทั้งสองให้มีค่าเท่ากับศูนย์ ก็จะทำให้เราได้ทราบผลรวมจากสมการของการอินทิเกรตทั้งหมด ซึ่งก็จะช่วยทำให้เราได้ทราบถึงค่าของ “การเสียรูปในทิศทางของแนวดิ่ง” ที่ตำแหน่ง c’ ว่าจะมีค่าเท่ากับ 1.228 CM ซึ่งค่าๆ นี้ก็จะตรงกันกับที่ผมได้ทำการเฉลยเอาไว้ในโพสต์ของเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมานั่นเองครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอังคาร
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#ตอบเรื่องวิธีในการคำนวณหาระยะที่จะเกิดการเสียรูปในทิศทางของแนวดิ่งที่มีค่ามากที่สุด
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com