สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ
โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องที่ได้มีการไลฟ์สดไปในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ
หากผมต้องการที่จะทำการออกแบบโครงสร้างสระว่ายน้ำชนิดวางตัวอยู่บนดิน ซึ่งเจ้าโครงสร้างสระว่ายน้ำนี้ก็จะฝังตัวจมลงไปอยู่ภายในดินเดิมซึ่งก็จะเห็นได้ว่ามีระดับของน้ำใต้ดินรวมอยู่ด้วยดังในรูป ทั้งนี้หากว่าน้ำหนักในแนวดิ่งในทิศทางลงนั้นประกอบไปด้วยค่าดังต่อไปนี้ (1) น้ำหนักของโครงสร้างเองจะมีค่าเท่ากับ 5 ตัน (2) น้ำหนักของดินที่อยู่ทางด้านข้างจะมีค่าเท่ากับ 3 ตัน (3) น้ำหนักบรรทุกอื่นๆ ที่จะอยู่ที่ด้านบนของโครงสร้างสระว่ายน้ำจะมีค่าเท่ากับ 1 ตัน (4) น้ำหนักของน้ำที่จะถูกบรรจุอยู่ในโครงสร้างสระว่ายน้ำจะมีค่าเท่ากับ 5 ตัน ต่อมาหากน้ำหนักในแนวดิ่งในทิศทางขึ้นนั้นประกอบไปด้วยค่าดังต่อไปนี้ (5) แรงดันอันเนื่องมาจากระดับน้ำใต้ดินซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 8 ตัน (6) แรงแบกทานสูงสุดที่ดินนั้นจะสามารถที่จะมีได้จะมีค่าเท่ากับ 15 ตัน ผมอยากที่จะขอให้เพื่อนๆ จงช่วยกันทำการตรวจสอบดูว่าโครงสร้างสระว่ายน้ำนี้ว่าจะมีสถานะเป็นอย่างไร จะตั้งอยู่ได้โดยที่มีเสถียรภาพในแนวดิ่งที่ดีเพียงพอ ใช่ หรือ ไม่ ?
ทั้งนี้เพื่อนๆ ยังสามารถที่จะให้เหตุผลต่างๆ หรือ อาจจะทำการสเก็ตช์ภาพประกอบคำตอบเพื่อใช้อธิบายเพิ่มเติมได้ แล้วยังไงวันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยคำถามข้อนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบพร้อมๆ กันนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันเสาร์
#ถามตอบชวนสนุก
#ปัญหาเสถียรภาพในแนวดิ่งของโครงสร้างสระว่ายน้ำ
ADMIN JAMES DEAN
คำตอบ
เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสย้อนกลับไปรับชมการไลฟ์สดเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าคำถามข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยใช่มั้ย ดังนั้นวันนี้เราจะมาช่วยกันหาคำตอบว่าโครงสร้างสระว่ายน้ำนี้จะมีสถานะเป็นอย่างไรและจะสามารถตั้งอยู่ได้โดยที่มีเสถียรภาพในแนวดิ่งที่ดีเพียงพอ ใช่ หรือ ไม่ ไปพร้อมๆ กันนะครับ
ก่อนอื่นผมก็จะทำการคำนวณหาค่าน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งในทิศทางลงมากที่สุดสำหรับกรณีที่ 1 นั่นก็คือ กรณีที่น้ำนั้นมีการบรรจุอยู่เต็มโครงสร้างสระว่ายน้ำ ซึ่งค่าๆ นี้ก็จะมีค่าเท่ากับ
Pv,down,case 1 = 5 + 3 + 1 + 5 = 14 TONS
ต่อมาเราก็จะทำการคำนวณหาค่าน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งในทิศทางลงมากที่สุดสำหรับกรณีที่ 2 นั่นก็คือ กรณีที่ไม่มีน้ำบรรจุอยู่ในโครงสร้างสระว่ายน้ำ ซึ่งค่าๆ นี้ก็จะมีค่าเท่ากับ
Pv,down,case 2 = 5 + 3 + 1 + 0 = 9 TONS
ต่อมาเราก็จะเป็นการคำนวณหาค่าน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งในทิศทางขึ้นมากที่สุดสำหรับกรณีที่ 1 นั่นก็คือ กรณีที่น้ำนั้นมีการบรรจุอยู่เต็มโครงสร้างสระว่ายน้ำ โดยที่เราก็จะต้องตรวจสอบดูก่อนว่า แรงแบกทานที่ดินนั้นจะต้องรับต้องมีค่าน้อยกว่าค่าแรงแบกทานสูงสุดที่ดินจะสามารถรับได้ ซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ
P bearing, case 1 = Pv,down,case 1 – 8
P bearing, case 1 = 14 – 8
P bearing, case 1 = 6 TONS < 15 TONS <<OK>>
ดังนั้นค่าน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งในทิศทางขึ้นมากที่สุดสำหรับกรณีที่ 1 ก็จะมีค่าเท่ากับ
Pv,up,case 1 = 8 + P bearing, case 1
Pv,up,case 1 = 8 + 6
Pv,up,case 1 = 14 TONS = Pv,down,case 1 = 14 TONS <<OK>>
ซึ่งก็จะเห็นได้ว่าค่าน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งในทิศทางขึ้นนั้นจะมีค่าเท่ากับค่าน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งในทิศทางลง ดังนั้นก็จะแสดงให้เห็นว่าสำหรับกรณีที่ 1 ตัวโครงสร้างสระว่ายน้ำของเรานั้นจะมีเสถียรภาพต่อแรงแบกทานที่ถือได้ว่าดีเพียงพอและก็ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่เราจะต้องใส่โครงสร้างเสาเข็มเพิ่มเติมเพื่อที่จะช่วยในการรับ “แรงอัด” ที่เกิดจากค่าน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งในทิศทางลงแต่อย่างใดเลยนะครับ
ต่อมาเราก็จะเป็นการคำนวณหาค่าน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งในทิศทางขึ้นมากที่สุดสำหรับกรณีที่ 2 นั่นก็คือ กรณีที่น้ำนั้นไม่ได้มีการบรรจุอยู่ภายในโครงสร้างสระว่ายน้ำเลย โดยที่เราก็จะต้องตรวจสอบดูก่อนว่า แรงแบกทานที่ดินนั้นจะต้องรับต้องมีค่าน้อยกว่าค่าแรงแบกทานสูงสุดที่ดินจะสามารถรับได้ ซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ
P bearing, case 2 = Pv,down,case 2 – 8
P bearing, case 2 = 9 – 8
P bearing, case 2 = 1 TONS < 15 TONS <<OK>>
ดังนั้นค่าน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งในทิศทางขึ้นมากที่สุดสำหรับกรณีที่ 2 ก็จะมีค่าเท่ากับ
Pv,up,case 2 = 8 + P bearing, case 2
Pv,up,case 2 = 8 + 1
Pv,up,case 2 = 9 TONS = Pv,down,case 2 = 9 TONS <<OK>>
ซึ่งก็จะเห็นได้ว่าค่าน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งในทิศทางขึ้นนั้นจะมีค่าเท่ากับค่าน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งในทิศทางลง ดังนั้นก็จะแสดงให้เห็นว่าสำหรับกรณีที่ 2 ตัวโครงสร้างสระว่ายน้ำของเรานั้นจะมีเสถียรภาพต่อแรงดันของน้ำใต้ดินที่ถือได้ว่าดีเพียงพอและก็ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่เราจะต้องใส่โครงสร้างเสาเข็มเพิ่มเติมเพื่อที่จะช่วยในการรับ “แรงดึง” ที่เกิดจากค่าน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งในทิศทางขึ้นแต่อย่างใดเลยนะครับ
ดังนั้นคำตอบสำหรับปัญหาในวันนี้ก็คือ โครงสร้างสระว่ายน้ำนี้จะมีสถานะที่ดีและมั่นคงโดยที่จะสามารถตั้งอยู่ได้โดยที่มีเสถียรภาพในแนวดิ่งทั้งในทิศทางลงและทิศทางขึ้นที่ดีเพียงพอ ทั้งนี้เป็นเพราะผู้ออกแบบได้ทำการพิจารณาและออกแบบให้ค่าน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งในทิศทางลงทุกๆ แรง ยกเว้น น้ำหนักบรรทุกของน้ำ ( Pv,down,case 2 = 9 TONS ) ให้มีค่าที่มากกว่า ค่าน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งในทิศทางขึ้นที่เกิดจากแรงดันอันเนื่องมาจากระดับน้ำใต้ดิน ( Pv,up,case 2 = 8 TONS ) มาเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเองครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอาทิตย์
#ถามตอบชวนสนุก
#ตอบปัญหาเสถียรภาพในแนวดิ่งของโครงสร้างสระว่ายน้ำ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
ต้องการตอกเสาเข็ม
สปันไมโครไพล์
ปรึกษาทีมงาน
สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam
🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com