การคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดินในรูปแบบของสปริงยืดหยุ่น
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันอีกครั้งหนึ่งในบ่ายวันเสาร์แบบนี้ โดยสืบเนื่องจากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นผมได้ทำการพูดถึงเรื่องการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดินในรูปแบบของสปริงยืดหยุ่นทั้งค่า Ksv และ Ksh สำหรับใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างฐานรากให้แก่เพื่อนๆ ไปแล้ว ดังนั้นในวันนี้ผมเลยคิดว่าน่าจะลองโพสต์ถามเพื่อนๆ ดูเพื่อที่จะตรวจสอบดูสิว่าเพื่อนๆ จะมีความเข้าใจในเรื่องๆ นี้มากน้อยเพียงใดและเหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ หากมีฐานรากที่มีขนาดความกว้าง ยาว และ ลึก เท่ากับ … Read More
ปริมาณเหล็กเสริมรับแรงดึงน้อยที่สุดในโครงสร้างรับแรงดัด
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมายก ตย ถึงความรู้พื้นฐานกันอีกสักเรื่องหนึ่ง ซึ่งวันนี้ผมคงจะโพสต์ต่อเนื่องเป็นเรื่องสุดท้ายละกันนะครับ ต่อไปหากมีหัวข้ออื่นๆ ที่น่าสนใจ ผมก็คงจะนำมาทยอยทบทวนให้แก่เพื่อนเรื่อยๆ นะครับ เรื่องในวันนี้ก็คือเรื่องปริมาณเหล็กเสริมรับแรงดึงน้อยที่สุดในโครงสร้างรับแรงดัดนั่นเองครับ เพื่อนๆ คงจะทราบดีอยู่แล้วนะครับว่าปริมาณนี้จะมีค่าเท่ากับ As min = 14bd/fy เพื่อนๆ ทราบถึงที่มาที่ไปของสมการนี้กันหรือไม่ครับ ? … Read More
“ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” ความสำคัญของหน่วยแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้าง
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันจันทร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ ในการโพสต์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้ทำการยกตัวอย่างในการคำนวณหาค่าหน่วยแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้างหรือ CONFINED COMPRESSIVE STRESS ของหน้าตัดโครงสร้างเสา คสล ที่ถูกทำการโอบรัดด้วยเหล็กปลอกให้กับเพื่อนๆ ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหากเพื่อนๆ ยังพอจำได้ว่าในการโพสต์สองครั้งก่อนหน้านี้ผมได้ทำการอธิบายไว้ว่า สาเหตุและความสำคัญที่พวกเรามีความจำเป็นที่จะต้องทำการพิจารณานำเอามาค่าหน่วยแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้างนี้มาใช้ในการออกแบบหน้าตัดโครงสร้างเสา คสล … Read More
คอนกรีตเสริมเหล็ก (REINFORCED CONCRETE)
คอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete) คือ คอนกรีตที่มีการเพิ่มสมรรถภาพการรับน้ำหนัก โดยการนำเหล็กเข้ามาเพื่อช่วยเพิ่มความสามารถที่ขาดไปของคอนกรีต โดยเฉพาะในเรื่องความเปราะและการรับแรงดึง กลไกสำคัญที่ทำให้เกิดกำลังคือ คอนกรีตรับแรงอัดและเหล็กเสริมรับแรงดึง เนื่องจากคอนกรีตมีความแข็งแรงในการรับแรงอัดได้ดีแต่มีความอ่อนแอในการรับแรงดึง ดังนั้นเมื่อรับน้ำหนักจะเกิดการแตกร้าวจากการหดตัวและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ซึ่งทำให้เกิดหน่วยแรงดึงเกินกว่าที่คอนกรีตจะรับได้ ในคานคอนกรีตโมเมนต์ดัดที่เกิดขึนบนหน้าตัดจะถูกต้านทานโดยคู่ควบแรงอัด-แรงดึงในคอนกรีต คานดังกล่าวจะวิบัติอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดรอยร้าวครั้งแรก ในคานคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็กเส้นจะถูกเสริมเข้าไปในคอนกรีตเพื่อรับแรงดึงทำหน้าท่ีแทนคอนกรีตหลังเกิดการแตกร้าว เพื่อทำหน้าท่ีเป็นแรงคู่ควบร่วมกับแรงอัดในคอนกรีตในการต้านทานโมเมนต์ดัดท่ีเกิดจากน้ำหนักบรรทุก เหล็กและคอนกรีตท้างานร่วมกันอย่างดีเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กและคอนกรีตมีเพียงพอที่จะไม่ทำให้เกิดการเลื่อนไถลของเหล็กเสริม … Read More