บล็อค บทความเพื่อให้ความรู้ เกร็ดความรู้ ทางด้านวิศวกรรมการก่อสร้างและฐานรากด้วยเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาและตอบโจทย์การก่อสร้างได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
บทความใหม่ๆ อัพเดทบนเพจ ภูมิสยาม ไมโครไพล์ http://bit.ly/2O6GBMu

การคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดินในรูปแบบของสปริงยืดหยุ่น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันอีกครั้งหนึ่งในบ่ายวันเสาร์แบบนี้ โดยสืบเนื่องจากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นผมได้ทำการพูดถึงเรื่องการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดินในรูปแบบของสปริงยืดหยุ่นทั้งค่า Ksv และ Ksh สำหรับใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างฐานรากให้แก่เพื่อนๆ ไปแล้ว ดังนั้นในวันนี้ผมเลยคิดว่าน่าจะลองโพสต์ถามเพื่อนๆ ดูเพื่อที่จะตรวจสอบดูสิว่าเพื่อนๆ จะมีความเข้าใจในเรื่องๆ นี้มากน้อยเพียงใดและเหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ หากมีฐานรากที่มีขนาดความกว้าง ยาว และ ลึก เท่ากับ … Read More

เสาตอม่อ (GROUND COLUMN)

เสาตอม่อ (Ground Column) คือ เสาสั้นส่วนที่อยู่ล่างสุดระหว่างฐานรากกับคาน โดยทั่วไปเสาตอม่อจะจมอยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่รับแรงอัดหรือน้ำหนักในทางดิ่ง แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่ฐานรากและเสาเข็ม เสาตอม่อ จะเป็นเสาสั้นๆ ส่วนมากจะมีความสูงประมาณ 50-100 เซนติเมตร แต่เป็นเสาที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้องทำหน้าที่รับน้ำหนักของเสาที่อยู่ชั้นบน ขั้นตอนการก่อสร้างเสาตอม่อ เนื่องจากว่าเสาตอม่อนั้นจะวางอยู่บนฐานราก ดังนั้นจึงเริ่มจากงานฐานรากก่อน โดยในตอนก่อสร้างฐานรากนั้นจะต้องวางเหล็กเสริมเสาตอม่อไปพร้อมกับฐานราก และต้องตรวจสอบให้เสาตอม่ออยู่กึ่งกลางฐานราก … Read More

ปัญหาที่มักจะเกิดในทุกๆ ครั้งที่เราทำการออกแบบและก่อสร้าง โครงสร้างเหล็กโครงถัก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน วันนี้ผมอยากจะขออนุญาตมาตอบคำถามของเพื่อนๆ ที่ถามผมเกี่ยวกับโพสต์ก่อนหน้านี้ว่า “ในการออกแบบโครงเหล็กแบบนี้เรามักที่จะทำการตั้งสมมุติฐานว่าจุดต่อนั้นเป็นแบบยึดหมุน (PINNED) แต่ ในงานก่อสร้างจริงๆ เรามักจะทำการก่อสร้างโดยการเชื่อมโดยรอบ สิ่งนี้จะทำให้จุดต่อนั้นกลายเป็นแบบยึดแน่น (FIXED) หรือไม่ ?” และ อีกคำถามหนึ่งที่ถามในทำนองเดียวกันว่า “โครงถักในลักษณะนี้เวลาที่ทำการวิเคราะห์โครงสร้างเราจำเป็นที่ต้องทำการ RELEASE MOMENT ด้วยหรือไม่ ?” ก่อนอื่นผมต้องขออนุญาตกล่าวคำชมเชยน้องๆ … Read More

การทำงานก่อสร้างจุดต่อระหว่างชิ้นส่วนโครงสร้างเสาเหล็ก (STEEL COLUMN) กับชิ้นส่วนจุดรองรับที่เป็นตอม่อคอนกรีต

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง เหล็ก (STRUCTURAL STEEL ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยและมา DISCUSS ร่วมกันกับเพื่อนๆ ถึงประเด็นคำถามที่ผมได้ฝากเอาไว้ตั้งแต่เมื่อวานนั่นก็คือ ผมได้ทำการขออนุญาตทำการสมมติว่าเพื่อนๆ ต้องทำหน้าที่เป็น ผู้ออกแบบ หรือ … Read More

1 144 145 146 147 148 149 150 185