บล็อค บทความเพื่อให้ความรู้ เกร็ดความรู้ ทางด้านวิศวกรรมการก่อสร้างและฐานรากด้วยเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาและตอบโจทย์การก่อสร้างได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
บทความใหม่ๆ อัพเดทบนเพจ ภูมิสยาม ไมโครไพล์ http://bit.ly/2O6GBMu

เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ   เมื่อช่วงที่ทางรัฐบาลได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเกี่ยวกับไวรัสโควิทนั้น ผมได้มีโอกาสสนทนากับแฟนเพจหลายๆ ท่านเลย หนึ่งในนั้นก็คือน้องผู้หญิงท่านหนึ่งที่ได้ทำการสอบถามผมเข้ามาทางอินบ็อกซ์ส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่อง การออกแบบโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ โดยที่น้องท่านนี้ได้แจ้งกับผมว่า อยากที่จะให้ผมได้ทำการอธิบายเกี่ยวกับเรื่องขั้นตอนและวิธีในการออกแบบชิ้นส่วนโครงสร้างหน้าตัดเหล็กตัวซีที่เป็นแบบไลท์ลิปแต่เหมือนน้องท่านนี้จะเข้าใจอะไรคลาดเคลื่อนออกไปเล็กน้อยเพราะเค้ากลับพูดถึงวิธีในการคำนวณและออกแบบหน้าตัดของเหล็กที่ถูกผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนหรือว่า HOT ROLLED STEEL ซึ่งในความเป็นจริงนั้นเหล็กตัวซีที่เป็นแบบไลท์ลิปนั้นจะถูกผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็นหรือว่า … Read More

สร้างใหม่ เลือกใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ ขนาดเล็ก สามาถรับน้ำหนักปลอดภัยหรือไม่??

สร้างใหม่ เลือกใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ ขนาดเล็ก สามาถรับน้ำหนักปลอดภัยหรือไม่?? เสาเข็มสปันไมโครไพล์ เป็นเสาเข็มขนาดเล็ก ที่เหมาะสำหรับการตอกเพื่อรับน้ำหนัก ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นฐานรากที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรง และด้วยเสาเข็มที่มีลักษณะกลวง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ ลดแรงสั่นสะเทือนขณะตอก ภายในของเสาเข็มมีโครงเหล็กฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบทำให้เสาเข็มมีความแข็งแรงสูง ขนาดของเสาเข็มมีความยาวเพียง 1.5 เมตร เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่หน้างาน และปั้นจั่นที่ใช้ตอกถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ ให้มีขนาดพอดีสำหรับตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์โดยเฉพาะ โดยการตอกเสาเข็มจะตอกต่อกันทีละท่อน และสามารถเชื่อมต่อกันได้โดยการเชื่อมด้วยไฟฟ้า … Read More

คอนกรีตผสมเสร็จ ควรเทให้เสร็จภายใน 2 ชั่วโมง

คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready-Mix Concrete) เป็นคอนกรีตที่ผสมเสร็จเรียบร้อยจากโรงงานแล้วลำเลียงใส่รถเพื่อจัดส่งให้กับหน่วยงานก่อสร้างต่างๆ แต่การขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา ซึ่งจะต้องส่งให้ถึงสถานที่ก่อสร้างภายในระยะเวลาที่กำหนด หากส่งล่าช้าจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของคอนกรีตผสมเสร็จ หรืออาจจะถึงขั้นไม่สามารถนำคอนกรีตผสมเสร็จนั้นมาใช้งานได้ คอนกรีตผสมเสร็จจะมีอายุประมาณ 2 ชั่วโมงนับตั้งแต่ผลิต ก็จะเริ่มทำการเซ็ตตัว โดยปกติแพล้นท์คอนกรีตจะไม่ยอมให้การเทคอนกรีตล่าช้ากว่า 2 ชั่วโมงอยู่แล้ว เนื่องจากว่าถ้าช้ากว่านี้ปูนก็จะเริ่มติดในรถโม่ อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแยกปูนออกมาอีกด้วย และจะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จไปให้กับลูกค้ารายอื่นไม่ทันอีกด้วย การขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จ จะต้องมีใบจ่ายสินค้าแนบมาด้วย … Read More

การใช้สารเคมีเข้าช่วยในการทำงานคอนกรีต

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ เพื่อนๆ เคยพบเจอกับเหตุการณ์เช่นนี้หรือไม่ครับ ? คือ เรามีโครงสร้างคอนกรีตเดิมอยู่ แต่ มีความจำเป็นที่จะต้องทำงานคอนกรีตใหม่ลงไปบนโครงสร้างคอนกรีตเดิมนี้ เช่น มีความจำเป็นที่จะต้องทำการแก้ไขงาน … Read More

1 79 80 81 82 83 84 85 185