ตอกเสาเข็มในเมือง พื้นที่ไม่มาก แนะนำเสาเข็ม มาตรฐาน มอก. โดย Bhumisiam (ภูมิสยาม)
ตอกเสาเข็มในเมือง พื้นที่ไม่มาก แนะนำเสาเข็ม มาตรฐาน มอก. โดย Bhumisiam (ภูมิสยาม) ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. และ การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 20-50 ตัน/ต้น ทดสอบโดย … Read More
เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ เมื่อช่วงที่ทางรัฐบาลได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเกี่ยวกับไวรัสโควิทนั้น ผมได้มีโอกาสสนทนากับแฟนเพจหลายๆ ท่านเลย หนึ่งในนั้นก็คือน้องผู้หญิงท่านหนึ่งที่ได้ทำการสอบถามผมเข้ามาทางอินบ็อกซ์ส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่อง การออกแบบโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ โดยที่น้องท่านนี้ได้แจ้งกับผมว่า อยากที่จะให้ผมได้ทำการอธิบายเกี่ยวกับเรื่องขั้นตอนและวิธีในการออกแบบชิ้นส่วนโครงสร้างหน้าตัดเหล็กตัวซีที่เป็นแบบไลท์ลิปแต่เหมือนน้องท่านนี้จะเข้าใจอะไรคลาดเคลื่อนออกไปเล็กน้อยเพราะเค้ากลับพูดถึงวิธีในการคำนวณและออกแบบหน้าตัดของเหล็กที่ถูกผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนหรือว่า HOT ROLLED STEEL ซึ่งในความเป็นจริงนั้นเหล็กตัวซีที่เป็นแบบไลท์ลิปนั้นจะถูกผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็นหรือว่า … Read More
การตอกเสาเข็มไมโครไพล์ ให้ลึกถึงระดับมาตรฐาน (BLOW COUNT)
การจะดูว่าการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดว่าเสร็จสิ้นเรียบร้อยตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่นั้น มิใช่ดูแต่เพียงว่าเสาเข็มตอกจมมิดลงไปในดินเท่านั้น แต่จะต้องดูจำนวนครั้งในการตอกด้วย (Blow Count) ว่าเสาเข็มแต่ละต้นใช้จำนวนครั้งในการตอกเท่าใดจนเสาเข็มจมมิดดิน ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักยังไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มและตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะเป็นไปตามที่กำหนด ในทางตรงกันข้ามถ้าจำนวนครั้งในการตอกมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มที่ตอกนั้นจะยังจมไม่มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องตอกต่อลงไปอีก เพราะการฝืนตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็มแต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้นวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม และความยาวของเสาเข็มนั้น ๆ