ปัญหาการคำนวณเมตริกซ์ความแข็งแกร่งต่อแรงกระทำทางด้านข้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาร่วมกันเสวนาถึงคำถามที่ผมได้เชิญชวนให้เพื่อนๆ ให้มาร่วมสนุกตอบคำถามร่วมกันเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยสืบเนื่องจากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นผมได้ทำการแชร์ความรู้แก่เพื่อนๆ ไปถึงเรื่อง การวิเคราะห์โครงสร้างอาคารสูงเชิงวิศวกรรมพลศาสตร์ ให้แก่เพื่อนๆ เกี่ยวกับเรื่องวิธีในการสร้าง LATERAL STIFFNESS MATRIX ของอาคารไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นในวันนี้ผมเลยคิดว่าน่าจะลองโพสต์ถามเพื่อนๆ ดูเพื่อที่จะตรวจสอบดูสิว่าเพื่อนๆ จะมีความเข้าใจในเรื่องๆ นี้มากน้อยเพียงใดและเหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ จากรูปเป็นอาคารๆ … Read More

ปัญหาตำแหน่งในการวางโครงสร้างคานยึดรั้ง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ ตามที่ผมได้เรียนเพื่อนๆ ไปตั้งแต่ในสัปดาห์ที่แล้วว่าในสัปดาห์นี้ผมจะขอนำเอาหลักการสำคัญๆ และข้อพึงระวังในการออกแบบโครงสร้างคาน TIED BEAM มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนและก็บังเอิญจริงๆ ว่าได้เพื่อนวิศวกรร่วมสถาบันในอดีตของผมท่านหนึ่งได้ให้ความกรุณาสอบถามผมเข้ามาว่า   “สำหรับกรณีที่เราต้องการที่จะทำการก่อสร้างโครงสร้างที่เป็นคาน TIED BEAM เราควรที่จะทำการวางตำแหน่งของคาน TIED … Read More

ถึงวิธีในการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดิน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ เนื่องจากในเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นผมได้ทำการโพสต์เพื่อที่จะแชร์ความรู้และตอบคำถามให้แก่เพื่อนของผมท่านหนึ่งที่ได้ทำการสอบถามเข้ามาว่า   “ผมกำลังจะทำการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างอาคารโรงงานในจังหวัดทางภาคอีสาน โดยที่ต้องการจะใช้ระบบฐานรากแบบตื้นหรือ SHALLOW FOUNDATION โดยที่ผมตั้งใจที่จะทำการจำลองให้จุดรองรับนั้นเป็นแบบที่สามารถเสียรูปได้หรือ FLEXIBLE SUPPORT ดังนั้นผมจึงอยากที่จะทำการกำหนดให้จุดรองรับนั้นมีสภาพเป็นสปริงแบบยืดหยุ่นหรือ ELASTIC … Read More

การออกแบบวิศวกรรมโครงสร้างต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหว

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างเชิงพลศาสตร์ต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายถึงเรื่องการคำนวณหา STIFFNESS MATRIX ของโครงสร้างต่อเนื่องจากในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นพื้นฐานให้แก่เพื่อนๆ เวลาที่ผมพาทำการแก้ปัญหาในการวิเคราะห์โครงสร้างของอาคารเมื่ออยู่อาคารนั้นๆ ตกอยู่ภายใต้แรงกระทำแบบพลศาสตร์นะครับ   โดยในครั้งที่แล้วผมได้อธิบายจบไปแล้วถึงเรื่องที่มาที่ไปของ STIFFNESS MATRIX ของ BEAM ELEMENT … Read More

ปัญหาการใช้งานฐานรากที่มีการก่อสร้างโดยใช้ เสาเข็มเพียงต้นเดียว หรือ SINGLE PILE

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ   โดยที่ผมจะมายกตัวอย่างถึงปัญหางานวิศวกรรมโครงสร้างที่พบได้จริงๆ ในชีวิตประจำวันของเราๆ ซึ่งในวันนี้ผมจะหยิบยกเอากรณีของปัญหาการใช้งานฐานรากที่มีการก่อสร้างโดยใช้ เสาเข็มเพียงต้นเดียว หรือ SINGLE PILE นั่นเองนะครับ   สืบเนื่องจากเมื่อไม่นานมานี้ผมมีโอกาสได้พาครอบครัวไปออกกำลังกายที่สวนสาธารณะแห่งหนึ่ง ซึ่งพอวิ่งไปรอบๆ บึงซึ่งมีลักษณะเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ได้มีการขุดเอาไว้ผมก็ไปพบกับอาคารชั้นเดียวอาคารหนึ่งซึ่งสร้างเอาไว้ค่อนข้างสูงจากระดับดิน ซึ่งก็น่าจะเกิดจากการออกแบบของสถาปนิกที่มีความต้องการที่จะให้ระดับใช้งานของอาคารหลังนี้อยู่เหนือระดับน้ำที่อาจจะมีระดับที่สูงมากๆ … Read More

ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ เนื่องจากเมื่อไม่นานมานี้ได้มีเพื่อนท่านหนึ่งที่เป็นแฟนเพจที่น่ารักของพวกเราได้ให้ความกรุณาทำการสอบถามปัญหาเข้ามาข้อหนึ่งทางอินบ็อกซ์ของเพจโดยมีใจความของคำถามว่า   “เพราะเหตุใดพอทำการสำรวจภายในส่วนของโครงสร้างเสาเข็มไมโครไพล์ของทางบริษัทภูมิสยามจึงไม่พบว่ามีการใช้ลวด PC WIRE หรือลวดอัดแรงเลยครับ?”   ผมคิดว่าเมื่อเพื่อนๆ เจอกับคำถามๆ นี้เหมือนกันกับผม หลายๆ คนก็คงจะมีคำตอบในใจอยู่แล้วแต่อีกหลายคนก็คงจะไม่ทราบคำตอบ ซึ่งก็ไม่เป็นไร วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการคลายข้อสงสัยในประเด็นๆ … Read More

ความรู้และวิธีการอ่านข้อมูล รวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งาน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ เนื่องจากเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ผมอยู่ที่ไต้หวันได้มีเพื่อนบนเฟซบุ้คของผมท่านหนึ่งได้สอบถามกันเข้ามาถึงเรื่องๆ หนึ่งและผมก็ได้รับปากว่า เมื่อใดที่ผมกลับมาที่ประเทศไทยเมื่อใดผมจะรีบดูให้ ซึ่งประเด็นและใจความของคำถามข้อนี้นมีดังต่อไปนี้ครับ   “ผมกำลังจะทำการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างอาคารโรงงานในจังหวัดทางภาคอีสาน โดยที่ต้องการจะใช้ระบบฐานรากแบบตื้นหรือ SHALLOW FOUNDATION โดยที่ผมตั้งใจที่จะทำการจำลองให้จุดรองรับนั้นเป็นแบบที่สามารถเสียรูปได้หรือ FLEXIBLE … Read More

ระบบแยกส่วนโครงสร้าง หรือ ISOLATED STRUCTURAL SYSTEM EQUIPMENT

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาร่วมกันเสวนาถึงคำถามที่ผมได้เชิญชวนให้เพื่อนๆ ให้มาร่วมสนุกตอบคำถามร่วมกันเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา สืบเนื่องจากในช่วยปลายของสัปดาห์นี้แอดมินมีกำหนดการที่จะต้องเดินทางไป ณ ประเทศไต้หวัน เพื่อไปนำเสนอผลงานการทำงานวิจัยในระดับ ป เอก ที่กำลังศึกษาอยู่ ทำให้ตลอดระยะเวลาของสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นผมอยู่ ณ ประเทศไต้หวัน ทำให้คำถามประจำสัปดาห์นี้ก็จะยังคงเกี่ยวพันกันกับเหตุการณ์ที่ผมมีโอกาสได้ไปพบเจอตอนที่ผมอยู่ใน ณ ประเทศไต้หวันและผมก็ต้องขอออกตัวกับเพื่อนๆ ไว้ก่อนเลยว่าคำถามประจำสัปดาห์นี้จะว่าไปแล้ว จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่ายโดยที่คำถามก็คือ … Read More

ชิ้นส่วนโครงสร้างยึดรั้งเหล็กที่จะไร้ซึ่งการโก่งเดาะ หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า STEEL BUCKLING RETSTRAINED BRACE (SBRB)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เนื่องจากในช่วยปลายของสัปดาห์นี้ไปจนถึงช่วงปลายๆ ของสัปดาห์หน้า แอดมินมีกำหนดการที่จะต้องเดินทางไป ณ ประเทศไต้หวัน เพื่อไปนำเสนอผลงานการทำงานวิจัยในระดับ ป เอก ที่กำลังศึกษาอยู่ ทางแอดมินจึงอยากจะขออนุญาตเพื่อนๆ ทุกคนทำการปรับเปลี่ยนผังและแผนของการโพสต์สักเล็กน้อย ทั้งนี้ก็เพื่อให้แอดมินนั้นสะดวกและเราเราก็ยังจะได้สามารถพบกันได้ในทุกๆ วันเหมือนเช่นเคยได้นั่นเองครับ วันนี้ผมได้ทำการนำเสนอผลงานการวิจัยเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตอนเย็นๆ พอเสร็จจากงานประชุมเลยมีโอกาสได้มาเดินชมนิทรรศการที่บรรดาสปอนเซอร์และห้างร้านต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวได้ทำการแสดงอยู่และมีโอกาสได้ไปพบเจอกับบริษัทที่มีการจัดจำหน่ายอุปกรณ์ๆ หนึ่งที่ถือได้ว่ามีความน่าสนใจและในขณะนี้ก็ได้มีการนำเอาผลจากการทำงานวิจัยไปต่อยอดใช้ในงานโครงสร้างจริงๆ … Read More

เหล็กตีนกา และ ลูกปูน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ อย่างที่ผมได้แจ้งไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าหลังจากที่ผมได้แชร์ความรู้ในเรื่องหลักการหลักๆ ของเรื่อง แผ่นพื้นวางบนคานแบบทางเดียวหรือ ONE WAY SLAB ON BEAM และ แผ่นพื้นวางบนคานแบบสองทางหรือ TWO … Read More

1 7 8 9 10 11 12 13 29