ความเป็นไปได้ในการออกแบบให้จุดต่อของฐานราก F3 ให้เป็นแบบ PINNED

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน สืบเนื่องจากโพสต์ของผมเมื่อวันก่อนเกี่ยวกับเรื่องทิศทางการวางเสาเข็มในฐานราก F3 และ มีประเด็นๆ หนึ่งที่มีเพื่อนวิศวกรท่านหนึ่งได้มาสอบถามผมเกี่ยวกับเรื่องความเป็นไปได้ในการออกแบบให้จุดต่อของฐานราก F3 ให้เป็นแบบ PINNED นั้นมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ซึ่งผมก็ได้ตอบเค้าในเบื้องต้นไปบ้างแล้วน่ะครับ ผมจึงเห็นว่าน่าจะมีประโยขน์หากผมทำการอธิบายประเด็นนี้เพิ่มเติมสักนิด ก่อนอื่นผมขอบอกก่อนนะครับว่าประเด็นที่ผมจะพูดถึงต่อไปนี้ ผมถือว่าเป็นการที่พวกเราเสวนา หรือ DISCUSS ร่วมกันนะครับ มิได้มีประเด็นใดที่เป็นเรื่องส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้องเลย ผมขอเริ่มทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนตามลำดับละกันนะครับ … Read More

วิศวกรรมแผ่นดินไหว

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องวิศวกรรมแผ่นดินไหวต่อเนื่องจากโพสต์เมื่อวานของผมนะครับ เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ครับว่าการวิเคราะห์แรงต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหว หรือ SEISMIC ANALYSIS นั้นจะแตกต่างไปจากการวิเคราะห์โครงสร้างเนื่องจาก นน บรรทุกประเภทอื่นๆ เช่น นน บรรทุกคงที่ นน บรรทุกจร นน บรรทุกแรงลม เป็นต้น สาเหตุเป็นเพราะว่าแรงกระทำที่เกิดจากแผ่นดินไหวนั้นจะทำให้อาคารเกิดการเคลื่อนที่ในรูปแบบวัฎจักร … Read More

ปัญหาทางด้านวิศวกรรมพลศาสตร์

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เนื่องจากในวันนี้มีเพื่อนวิศวกรของผมท่านหนึ่งได้หลังไมค์มาสอบถามผมเกี่ยวกับเรื่องปัญหาทางด้านวิศวกรรมพลศาสตร์ ผมเห็นว่าเนื้อหาน่าสนใจดี จึงคิดว่าน่าจะมีประโยชน์หากผมมานำมาเล่าสู่กันฟังกับเพื่อนๆ ด้วยนะครับ ก่อนอื่นผมขออธิบายเกี่ยวกับเรื่องวิศวกรรมพลศาสตร์กันสักเล็กน้อย จริงๆ เรื่องนี้วิศวกรอย่างเราๆ มักจะไม่มีความคุ้นเคยเท่าใดนัก อาจเป็นเพราะว่าสมมติฐานในการออกแบบโครงสร้างทั่วๆ ไปของเราจะอยู่บนหลักการของสถิตศาสตร์เสียเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เมื่อต้องประสบปัญหาเชิงพลศาสตร์เพื่อนๆ ก็อาจจะมึนๆ งงๆ กันได้นะครับ แต่ ผมขอบอกเลยครับว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยาก ยิ่งหากเรารู้จักพื้นฐานของหลักการทางพลศาสตร์แล้วจะยิ่งพบว่าหลักในการนำไปใช้นั้นค่อนข้างตรงไปตรงมามากๆ ครับ … Read More

การคำนวณหาสถานะของความสมดุล (STAGE OF EQUILIBRIUM) ในโครงสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขอมายก ตย ในการคำนวณหาสถานะของความสมดุล (STAGE OF EQUILIBRIUM) ในโครงสร้างตามที่ได้เคยรับปากกับเพื่อนๆ เอาไว้เมื่อวานนะครับ เริ่มต้นดูจากในรูปก่อนนะครับ ในรูปเป็นโครงสร้าง SHELL รูปครึ่งวงกลมวางซ้อนกันอยู่ 2 อัน โดยหากดูรูปในเส้นประสีเขียวจะพบว่า ณ จุดๆ นี้ … Read More

คำนิยามความสมดุล และ สถานะของสมดุล (EQUILIBRIUM AND STAGE OF EQUILIBRIUM)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้แอดมินมีนิยามที่น่าสนใจจะมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันนะครับ เรื่องๆ นี้ก็คือ เรื่อง คำนิยามของคำ 2 คำ ก็คือ ความสมดุล และ สถานะของสมดุล (EQUILIBRIUM AND STAGE OF EQUILIBRIUM) นั่นเองครับ … Read More

งานออกแบบอาคารสูง (HIGH RISE BUILDING) หรือ ระบบโครงสร้างอาคารที่มีความยาวช่วงเสาที่ค่อนข้างมาก (LONG SPAN)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาแชร์ประสบการณ์ในงานออกแบบอาคารสูง (HIGH RISE BUILDING) หรือ ระบบโครงสร้างอาคารที่มีความยาวช่วงเสาที่ค่อนข้างมาก (LONG SPAN) ให้แก่เพื่อนๆ นะครับ นั่นก็คือเรื่อง การพิจารณาเรื่องดรรชนีความแข็งแกร่งต่อการต้านทานแรงดัดของอาคาร หรือ BENDING RIGIDITY INDEX หรือเรียกสั้นๆ ว่าค่า … Read More

ปริมาณเหล็กเสริมรับแรงดึงน้อยที่สุดในโครงสร้างรับแรงดัด

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมายก ตย ถึงความรู้พื้นฐานกันอีกสักเรื่องหนึ่ง ซึ่งวันนี้ผมคงจะโพสต์ต่อเนื่องเป็นเรื่องสุดท้ายละกันนะครับ ต่อไปหากมีหัวข้ออื่นๆ ที่น่าสนใจ ผมก็คงจะนำมาทยอยทบทวนให้แก่เพื่อนเรื่อยๆ นะครับ เรื่องในวันนี้ก็คือเรื่องปริมาณเหล็กเสริมรับแรงดึงน้อยที่สุดในโครงสร้างรับแรงดัดนั่นเองครับ เพื่อนๆ คงจะทราบดีอยู่แล้วนะครับว่าปริมาณนี้จะมีค่าเท่ากับ As min = 14bd/fy เพื่อนๆ ทราบถึงที่มาที่ไปของสมการนี้กันหรือไม่ครับ ? … Read More

สมการการเสียรูปของชิ้นส่วนซึ่งรับแรงตามแนวแกน (AXIAL DEFORMATION OF BARS)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ คน วันนี้ผมมีโอกาสได้คุยกับรุ่นน้องวิศวกรท่านหนึ่งที่กำลังเตรียมตัวจะสอบเลื่อนขั้น ก็พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องความรู้ในระดับพื้นฐาน และ ขั้นสูงต่างๆ ที่ผมได้นำมาเล่าและทบทวนให้แก่เพื่อนๆ ไปว่าเรื่องใดเป็นเรื่องสำคัญ เรื่องใดควรที่จะทบทวน ผมก็พบว่า น้องคนนี้รวมถึงวิศวกรหลายๆ ท่านไม่ทราบหรืออาจจะแค่ลืมถึงทฤษฎีพื้นฐานที่มีความสำคัญหลายๆ อย่างไปจากตอนที่เรียน ซึ่งปัญหาของการหลงลืมสิ่งเหล่านี้ก็คือทฤษฎีพื้นฐานเหล่านี้จะมีผลสำคัญต่อการนำความรู้ไปต่อยอดในระดับสูงนั่นเอง ผมจึงคิดว่าในช่วงเวลาต่อไปนี้ ผมจะทำการนำพื้นฐานความรู้ต่างๆ มาทบทวนให้แก่เพื่อนๆ กันสักหน่อยนะครับ เพื่อเพื่อนๆ จะได้มีความเข้าใจ … Read More

วัสดุคอนกรีต

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่านครับ วันนี้ผมอยากที่จะขอมาให้ความรู้พื้ฐานสั้นๆ เกี่ยวกับวัสดุคอนกรีตนะครับ หากเพื่อนๆ อ่าน TEXT BOOK หรือเอกสารตำราของต่างประเทศหลายๆ ครั้งเราอาจพบได้ว่าเมื่อทำดารอ้างถึงค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีตที่อายุ 28 วัน มักจะใช้ CODE ระบุว่า C …X… / …Y… เพื่อนๆ … Read More

โมเมนต์ดัดแบบสถิต หรือ STATIC MOMENT

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้เราจะมาดู ตย กันอีกสักข้อ ทั้งนี้เพื่อทำความเข้าใจกับคำว่า โมเมนต์ดัดแบบสถิต หรือ STATIC MOMENT กันอีกสักหน่อยนะครับ อย่างที่ผมเรียนไปตั้งแต่ครั้งที่แล้วนะครับว่าค่าๆ นี้ประโยชน์มากในการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างมากนะครับ เช่น ใช้ตรวจสอบคำตอบที่ได้จากการวิเคราะห์โครงสร้าง ใช้ในการคำนวณโมเมนต์เพื่อที่จะทำการกระจายโมเมนต์ไปในแถบออกแบบสำหรับการออกแบบโครงสร้างแผ่นพื้นไร้คาน เป็นต้น กล่าวคือโมเมนต์สถิตก็คือผลรวมของค่าโมเมนต์ทั้งแบบบวกและแบบลบในโครงสร้างรับแรงดัดใดๆ จะมีค่าไม่เกินค่าโมเมนต์สถิตนี้ โดยหลักการของโมเมนต์ดัดแบบสถิตมีอยู่ง่ายๆ … Read More

1 20 21 22 23 24 25 26 29