การดัดของคานทั้งการเสียรูปแบบน้อย (SMALL DISPLACEMENT) และ แบบมาก (LARGE DISPLACEMENT)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกท่าน วันนี้แอดมินจะมาเล่าให้ฟังถึงสมมติฐานถึงเรื่องการดัดของคานทั้งการเสียรูปแบบน้อย (SMALL DISPLACEMENT) และ แบบมาก (LARGE DISPLACEMENT) ให้เพื่อนๆ ได้ทราบกันนะครับ และสมมติฐานเหล่านี้จะใช้สำหรับการวิเคราะห์เฉพาะคานที่ทำขึ้นจากวัสดุที่มีพฤติกรรมความเป็นเชิงเส้น (LINEAR ELASTIC MATERIAL) เท่านั้นนะครับ (1) ระนาบของหน้าตัดคานยังคงอยุ่ในระนาบเดิมหลังจากเกิดการเปลี่ยนตำแหน่งจากการดัด (ดูรูปประกอบนะครับ) (2) ระนาบยังคงตั้งฉากกับหน้าตัดตามแกนแนวยาวของคานที่พิจารณาก่อนเกิดการเปลี่ยนตำแหน่งเนื่องจากการดัด … Read More

ENERGY METHODS IN APPLIED MECHANICS หรือ วิธีการพลังงานที่นำไปใช้ในงานกลศาสตร์ประยุกต์

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้เนื้อหาที่ผมจะนำมาอธิบายแก่เพื่อนๆ นั้นอาจจะค่อนข้างไม่เป็นที่คุ้นเคยกันเท่าใดนักนะครับ แต่ผมก็เชื่อว่าจะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านครับ เรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับ ENERGY METHODS IN APPLIED MECHANICS หรือ วิธีการพลังงานที่นำไปใช้ในงานกลศาสตร์ประยุกต์ นะครับ จากทฤษฎีพื้นฐานทางด้านกลศาสตร์เราจะทราบว่าค่ากำลังงาน แทนค่าได้ด้วยตัวแปร W จะมีค่าเท่ากับพลังงานที่มีเครื่องหมายตรงข้ามกัน ซึ่งแทนค่าได้ด้วยตัวแปร … Read More

การคำนวณหาค่าหน่วยแรงดัดในคานรับแรงดัด

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่านครับ วันนี้แอดมินต้องขออภัยที่มาพบกับเพื่อนๆ ช้าไปหน่อยนะครับ เพราะแอดมินเพิ่งประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์มา ยังไงต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ วันนี้แอดมินจะมายก ตย การนำคุณสมบัติต่างๆ ที่ได้พูดถึงไปเมื่อสองวันก่อนหน้านี้ไปใช้ในการคำนวณหาค่าหน่วยแรงดัดในคานรับแรงดัดกันนะครับ ก่อนอื่นเรามาดูที่ค่าคุณสมบัติต่างๆ ของหน้าตัดกันก่อนนะครับ จะเห็นได้ว่าหลายๆ ครั้งเมื่อเราสั่งผลิตภัณฑ์จำพวกนี้มาใช้งานจะพบว่าผู้ผลิตจะทำการคำนวณคุณสมบัติเหล่านี้มาให้อยู่แล้ว ทั้งนี้ก็เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานนั่นเองครับ ต่อมาเรามาคำนวณหาค่าแรงดัดมากที่สุด ซึ่งก็คือ แรงดัดที่กึ่งกลางคาน … Read More

สาเหตุของรอยร้าวในคอนกรีต

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เพื่อนๆ เคยสังเกตมั้ยครับ ไม่ว่าเราจะทำการผสมคอนกรีตเองหรือจะสั่งคอนกรีตผสมเสร็จมาใช้ที่หน้างานก็แล้วแต่ ในบางครั้งก็มักจะเกิดรอยร้าวขึ้นในเนื้อคอนกรีตขึ้น ไม่มากก็น้อย วันนี้เราจะมาพูดคุยกันถึงประเด็นๆ นี้กันนะครับ โดยเราสามารถจำแนกถึงสาเหตุของการแตกร้าวออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ (1) การแตกร้าวที่มีสาเหตุมาจากงานโครงสร้าง (STRUCTURAL CRACK) (2) การแตกร้าวที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากงานโครงสร้าง (NON-STRUCTURAL CRACK) … Read More

หลักการออกแบบโครงสร้างรับแรงแผ่นดินไหว

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้แอดมินมีโอกาสได้พูดคุยกับเพื่อนชาวต่างชาติเกี่ยวกับเรื่องของแนวคิดในการออกแบบโครงสร้างเหล็กเพื่อใช้ต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหวในปัจจุบันและในอนาคตว่าจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ? ผมเลยคิดว่าหากจะนำมาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบด้วย ก็น่าจะเป็นการดีครับ หลักการออกแบบโครงสร้างรับแรงแผ่นดินไหวในปัจจุบันใช้สมมติฐานว่าโครงสร้างมีพฤติกรรมอยู่ในช่วงเชิงเส้น กระบวนการออกแบบเริ่มต้นโดยการหาแรงเฉือนที่ฐานของอาคาร ซึ่งหาได้จากค่าสัมประสิทธิ์ผลตอบสนองแรงแผ่นดินไหว (Cs) และค่าความเร่งตอบสนองเชิงสเปคตรัมสำหรับการออกแบบที่คาบการสั่นพื้นฐานของอาคาร (Sa) โดยมีสมมติฐานที่ว่าโครงสร้างมีพฤติกรรมเป็นเชิงเส้น จากนั้นจึงลดทอนค่าแรงเฉือนด้วยค่าตัวประกอบปรับผลตอบสนอง (R) ที่แปรผันตามค่าความเหนียวของระบบโครงสร้างที่ได้สมมุติไว้ ค่าแรงเฉือนที่ฐานสำหรับการออกแบบนี้จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามระดับความสำคัญในการใช้งานของโครงสร้างอาคาร โดยใช้ตัวประกอบความสำคัญของอาคาร (I) … Read More

วิศวกรโครงสร้าง หรือ STRUCTURAL ENGINEER

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่านครับ เนื่องในโอกาสที่แอดมินกำลังจะเข้าทำการศึกษาต่อในระดับ ป เอก ภายในช่วงเวลาประมาณต้นปีหน้านี้นะครับ ประกอบกับคำถามที่มักถูกถามบ่อยๆ เกี่ยวกับว่า เหตุใดแอดมินถึงเลือกสายงานอาชีพเป็น วิศวกรโครงสร้าง หรือ STRUCTURAL ENGINEER ? วันนี้เห็นว่าเป็นโอกาสเหมาะ เลยอยากจะนำความรู้สึกของแอดมินเองมาเล่าสู่กันฟังให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันเป็นความรู้ด้วยก็น่าจะเป็นการดีครับ ในมุมมองของแอดมินนั้นสายงานวิศวกรรมโครงสร้าง หรือ STRUCTURAL … Read More

ระบบไร้แรงยึดเหนี่ยว หรือ ระบบ UNBOND

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่านครับ หากเพื่อนๆ ท่านใดติดตามข่าวกันในช่วงระยะเวลาประมาณ 2-3 วันมานี้เราคงจะได้ยินข่าวที่อาคารร้างเก่าที่ก่อสร้างด้วยระบบพื้นคอนกรีตอัดแรงเกิดการถล่มลงในระหว่างขั้นตอนการรื้อถอนจนเป็นเหตุให้เกิดคนงานเสียชีวิตกันไปบ้างนะครับ ในขณะนี้ทีมงานสำรวจของ วสท ได้เข้าสำรวจอาคารหลังนี้แล้วนะครับ และ คาดว่าใน 1-2 วัน ข้างหน้าน่าจะมีข้อสรุปถึงสาเหตุของการถล่มมาให้พวกเราได้รับทราบและเรียนรู้ร่วมกันนะครับ เมื่อถึงเวลานั้นแอดมินจะนำมาขยายความให้พวกเราได้รับทราบกันอีกครั้งนะครับ ในขณะนี้เป็นที่คาดหมายกันว่าระบบของพื้นคอนกรีตอัดแรงที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารหลังดังกล่าวนี้เป็นระบบไร้แรงยึดเหนี่ยว หรือ ระบบ UNBOND ครับ … Read More

การออกแบบฐานรากตื้น (SHALLOW FOUNDATION)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่านครับ เนื่องจากมีน้องวิศวกรท่านหนึ่งหลังไมค์ถามแอดมินเกี่ยวกับเรื่อง การออกแบบฐานรากตื้น (SHALLOW FOUNDATION) ว่ามีหลักและวิธีในการออกแบบในะระดับที่ ADVANCE ขึ้นไปจากขั้นตอนปกติทั่วๆ ไปอย่างไรบ้าง แอดมินเห็นว่ามีประโยชน์เลยจะมาขออธิบายให้แก่เพื่อนๆ ได้รับฟังกันในเพจนี้ด้วยนะครับ ก่อนอื่นต้องขอเล่าให้ฟังก่อนนะครับว่าระบบฐานรากในโครงสร้างนั้นมีอยุ่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบมาก โดยแต่ละรูปแบบนั้นจะมีทั้งข้อดี และ ข้อด้อย ของตัวเองขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ที่ใช้    อย่างไรก็ตามระบบฐานรากที่พบโดยทั่วไปจะจำแนกออกได้เป็น (A) … Read More

การตรวจสอบสภาวะการใช้งาน (SERVICEABILITY)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาโพสต์เอาใจนักออกแบบต่อกันอีกสักวันนะครับ เพื่อนคงจะทราบแล้วว่าทำไมหลายๆ ครั้งเวลาที่เราทำการออกแบบโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ สิ่งหนึ่งที่เราพบเจออยู่ได้บ่อยๆ ก็คือ เมื่อออกแบบหน้าตัดคานเหล็กทางสภาวะการรับกำลัง (STRENGTH) เสร็จแล้ว เราต้องทำการตรวจสอบสภาวะการใช้งาน (SERVICEABILITY) ด้วยทุกครั้งไป เวลาที่เราทำการตรวจสอบ เมื่อใช้ นน บรรทุกคงที่ และ นน บรรทุกจร … Read More

วิธีในการใช้งาน SCHMIDT HAMMER

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังถึงกระบวนการทำงาน และ วิธีในการใช้งานเจ้า SCHMIDT HAMMER ต่อจากเมื่อวานนะครับ ในการทดสอบหาค่ากำลังอัดของคอนกรีตด้วยวิธี REBOUND HAMMER TEST หรือที่เราเรียกกันจนคุ้นหูว่า SCHMIDT HAMMER TEST (ดูรูปที 1) เป็นการทดสอบเพื่อที่จะทำการประเมินค่ากำลังอัดของคอนกรีตในโครงสร้างแบบไม่ทำลาย (NON-DESTRUCTIVE … Read More

1 21 22 23 24 25 26 27 29