การรวมแรงเค้นโดยการแยกประเภทของแรงที่เกิดขึ้นที่แต่ละมุมของหน้าตัดโครงสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ สืบเนื่องจากคำถามที่ผมได้นำมาใช้เป็นคำถามประจำสัปดาห์เกี่ยวกับเรื่องการคำนวณหาขอบเขตของ KERN POINT เมื่อวันเสาร์และวันอาทิตย์ที่ผ่านมานั้น มีเพื่อนๆ ของผมหลายท่านเลยได้ฝากคำถามกันเข้ามาว่า หากเค้ายังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องนี้ดีพอและอยากที่จะทำการรวมแรงเค้นหรือ COMBINE STRESS ของรูปโครงสร้างรูปนี้ โดยที่จะไม่อาศัยสมการที่ผมได้ให้ไว้ จะสามารถทำได้หรือไม่ … Read More

จำนวนของเสาเข็มที่จะต้องใช้ในงานการก่อสร้างบ้านหรืออาคาร

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ ในฐานะที่ผมเป็นหนึ่งในทีมงานของแอดมิน คำถามๆ หนึ่งที่ผมมักจะสังเกตเห็นได้จากอินบ็อกซ์ของทางเพจซึ่งส่วนใหญ่แล้วบรรดาแฟนเพจเหล่านั้นก็มักที่จะเป็นผู้หญิงด้วย ตัวอย่างเช่น หากอยากที่จะทำการก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารหรือบ้านเรือนซึ่งจะมีขนาดพื้นที่เท่ากับ ……………………. ตารางเมตรต่อชั้น ทั้งหมดจำนวน ……………………. ชั้น อยากจะทราบว่าจะต้องใช้เสาเข็มไมโครไพล์ทั้งหมดจำนวนกี่ต้นหรืออยากจะทราบว่าจะต้องใช้ความยาวของเสาเข็มไมโครไพล์เท่ากับเท่าใดกันแน่ เป็นต้น … Read More

การนำเอา KernPoint มาช่วยพิจารณาว่าจะเกิดแรงเค้นดึงขึ้นในหน้าตัดโครงสร้างหรือไม่

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในวันนี้ผมยังคงอยู่นอกสถานที่อยู่ ยังไม่สะดวกที่จะทำการอัดคลิปให้แก่เพื่อนๆ ผมจึงจะขออนุญาตที่จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” ก่อนนะครับ อย่างที่ผมได้เรียนเพื่อนๆ ไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าในสัปดาห์นี้เราจะมาดูตัวอย่างง่ายๆ กันสักหนึ่งข้อเกี่ยวกับเรื่องการคำนวณหาว่า ภายในหน้าตัดโครงสร้างของเรานั้นจะเกิดแรงเค้นดึงหรือ TENSILE STRESS ขึ้นหรือไม่โดยอาศัยการคำนวณจากค่า KERN POINT … Read More

ประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ จะว่าไปแล้วหัวข้อในวันนี้ของผมจะมีส่วนที่เกี่ยวพันจากโพสต์ตั้งแต่ในปีที่แล้วที่ผมเคยได้อธิบายไปหลายๆ ครั้งว่า หากเราทำการออกแบบโครงสร้างฐานรากวางบนดินหรือ BEARING FOUNDATION ก็ดีหรือกำลังทำการออกแบบโครงสร้างเสาก็ดี จะมีหลายๆ ครั้งที่เราจะต้องทำการตรวจสอบดูว่า ภายในหน้าตัดโครงสร้างของเรานั้นจะเกิดแรงเค้นดึงหรือ TENSILE STRESS ขึ้นหรือเปล่า … Read More

เพราะเหตุใด เสาเข็มไมโครไพล์ ของภูมิสยามจึงจะต้องอาศัยกระบวนการในการหล่อคอนกรีตโดยการให้แรงเหวี่ยง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ ในวันนี้ผมจะขออนุญาตเริ่มต้นทำการพูดถึงประเด็นๆ หนึ่งที่ยังคงค้างมาตั้งแต่ปีที่แล้วเกี่ยวกับเรื่องที่มีแฟนเพจท่านหนึ่งได้สอบถามผมเข้ามาว่า   “อยากที่รบกวนขอให้อาจารย์ช่วยทำการอธิบายให้หน่อยว่าเพราะเหตุใดเสาเข็มไมโครไพล์ของภูมิสยามจึงจะต้องอาศัยกระบวนการในการ “สปัน” เสาเข็มด้วยครับ ?”   จริงๆ แล้วคำถามๆ … Read More

การคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดินในรูปแบบของสปริงยืดหยุ่น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันอีกครั้งหนึ่งในบ่ายวันเสาร์แบบนี้ โดยสืบเนื่องจากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นผมได้ทำการพูดถึงเรื่องการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดินในรูปแบบของสปริงยืดหยุ่นทั้งค่า Ksv และ Ksh สำหรับใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างฐานรากให้แก่เพื่อนๆ ไปแล้ว ดังนั้นในวันนี้ผมเลยคิดว่าน่าจะลองโพสต์ถามเพื่อนๆ ดูเพื่อที่จะตรวจสอบดูสิว่าเพื่อนๆ จะมีความเข้าใจในเรื่องๆ นี้มากน้อยเพียงใดและเหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ หากมีฐานรากที่มีขนาดความกว้าง ยาว และ ลึก เท่ากับ … Read More

ปัญหาเรื่องจำนวนสามเหลี่ยมทั้งหมดในรูปห้าเหลี่ยม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันอีกครั้งหนึ่งในบ่ายของวันเสาร์แบบนี้ เนื่องจากเมื่อเร็วๆ นี้ผมได้มีโอกาสรับฟังถึงเรื่องราวเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับคำถามๆ หนึ่งที่คุณครูได้ใช้ในการสอบถามเด็กนักเรียนในชั้นเรียน ซึ่งคำตอบข้อนี้ถือได้ว่ามีความน่าสนใจเป็นอย่างมากเลยทีเดียว โดยที่โจทย์ปัญหาในวันนี้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ครับ ผมอยากจะถามเพื่อนๆ ว่าจากรูป “5 เหลี่ยม” รูปนี้จะมีรูป “3 เหลี่ยม” อยู่ทั้งหมดกี่รูป ?   (1) 10 … Read More

วิธีในการดูแลรักษาโครงสร้างเหล็กที่เหมาะสม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ วันนี้ผมจะขอนำเอาภาพและปัญหาจากกรณีจริงๆ ของโครงสร้างที่จัดอยู่ในประเภทโครงสร้างเหล็ก ซึ่งสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น อาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุเลยนะครับ เช่น ผู้ออกแบบอาจจะเลือกใช้ขนาดความหนาของชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กที่มีความบางมากจนเกินไป โดยที่ผิวของเหล็กนั้นอาจจะไม่ได้รับการป้องกันไม่ให้เกิดสนิมดีเพียงพออีกต่างหาก ผนวกกับการที่โครงสร้างดังกล่าวอาจจะไม่ได้รับการตรวจสอบและดูแลดีเพียงพอจนในที่สุดเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ เข้า เนื้อเหล็กนั้นก็เกิดการกร่อนและเสียหายในที่สุด เป็นต้น โดยเหตุผลที่ผมนำเอาปัญหาข้อนี้มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนก็เพื่อให้เพื่อนๆ ดูเอาไว้เป็นตัวอย่างและพึงระวังถึงปัญหาๆ … Read More

ความรู้เกี่ยวกับการเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้นที่ลาว

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน หากเพื่อนๆ ดูข่าวสารในช่วงนี้ก็จะเห็นได้ว่าคงไม่มีข่าวใดที่จะมีกระแสดังไปกว่าเรื่องเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศ สปป ลาว ซึ่งมีขนาดของการเกิดแผ่นดินไหวสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 6.4 ดังนั้นในวันเสาร์และอาทิตย์นี้ผมจึงมีความคิดว่าน่าจะเป้นการดีและเป็นประโยชน์หากผมจะขออนุญาตใช้พื้นที่ในการโพสต์ตรงนี้ในการให้ความรู้และข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องวิศวกรรมแผ่นดินไหวครั้งนี้นะครับ ในวันนี้ผมจะขออนุญาตหยิบนำเอากฎของความปลอดภัยจากแผ่นดินไหวสำหรับผู้ที่อยู่หรือพักอาศัยในอาคารสูงซึ่งได้มีการจัดทำและรวบรวมขึ้นมาโดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยมาแบ่งปันและขยายความให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนดังรูปๆ นี้นะครับ   โดยที่ผมจะขอรวบรวมและทำการสรุปให้ดังต่อไปนี้ก็คือ อย่าตื่นตระหนกตกใจหรือรีบผลุนลันรีบวิ่งหนีออกจากอาคารในทันทีในขณะที่อาคารนั้นเพิ่งที่จะเริ่มเกิดการสั่นไหวหรืออย่าใช้ลิฟต์โดยสารโดยเด็ดขาดเพราะมีโอกาสสูงที่ระบบอิเล็คทรอนิคส์ของลิฟต์โดยสารดังกล่าวอาจจะใช้การไม่ได้ในขณะที่เกิดแผ่นดินไหวขึ้น สิ่งที่แนะนำให้ทำก็คือให้รีบทำการหาที่หลบภัยใต้ที่ใกล้ตัวและสะดวกที่สุดเพื่อหาสิ่งที่จะคอยป้องกันไม่ให้สิ่งของต่างๆ ร่วงลงมาใส่ศีรษะหรือร่างกายของเรา เช่น หลบอยู่ใต้โต๊ะที่มีความแข็งแรงเพียงพอ เป็นต้น … Read More

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้าง DiaphragmWall

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายถึงระบบโครงสร้างระบบหนึ่งที่พวกเรานิยมนำมาใช้ในการก่อสร้างส่วนหนึ่งของอาคารที่จะมีการตั้งอยู่ใต้ระดับดินลงไปมากๆ เช่น ที่จอดรถใต้ดิน หรือ อาคารรถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นต้น ระบบนั้นก็คือ ระบบกำแพงรับแรงดัน หรือที่พวกเรานิยมเรียกกันในภาษาอังกฤษว่า DIAPHRAGM WALL … Read More

1 6 7 8 9 10 11 12 29