กรณีการออกแบบเสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีความชะลูดมากโดยวิธีกำลัง (STRENGTH DESIGN METHOD)
หากเราทำการออกแบบเสาคอนกรีตเสริมเหล็กโดย วิธีกำลัง เราจะสามารถพิจารณาทำการออกแบบโดยพิจารณาว่าโครงสร้างเสาของเรานั้นเป็น เสาสั้น หรือ เสายาว ได้จากการคำนวณหาค่า อัตราส่วนความชะลูด (SLENDERNESS RATIO) ของเสา และ เปรียบเทียบกันกับลักษณะของการเสียรูปในทิศทางด้านข้างของโครงสร้างนะครับ โดยที่
หากเป็นโครงเฟรมที่ไม่มีการเซ (NON SWAYED FRAME)
ค่าตัวคูณความยาวประสิทธิผล หรือ ค่า K จะมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.00
โดยที่เราจะถือเสานั้นเป็นเสาสั้น (STOCKY COLUMN) ก็ต่อเมื่อค่า
K Lu / r < 34-(12 M1b / M2b)
หากเป็นโครงเฟรมที่มีการเซ (SWAYED FRAME)
ค่าตัวคูณความยาวประสิทธิผล หรือ ค่า K จะมีค่ามากกว่า 1.00 เสมอ
โดยที่เราจะถือเสานั้นเป็นเสาสั้น (STOCKY COLUMN) ก็ต่อเมื่อค่า
K Lu / r < 22
ในเมื่อค่า Lu คือ ระยะความยาวอิสระของเสาและค่า r คือ รัศมีไจเรชั่นของเสา
จากการคำนวณค่าข้างต้นโดยแบ่งตามประเภทการเสียรูปทางด้านข้างของโครงเฟรมแล้ว หากว่าค่า K Lu / r ของเรานั้นออกมามีค่าน้อยกว่าค่าๆ นี้เราจะถือเสาของเรานั้นเป็นเสาสั้น หรือ STOCKY COLUMN ซึ่งในการออกแบบลักษณะของเสาประเภทนี้เรามักจะทำการควบคุมการออกแบบให้เสาเกิดการวิบัติในรูปแบบ STRENGTH CRITERION เป็นหลัก แต่ หากว่าค่า K Lu / r นั้นออกมามีค่ามากกว่าค่าข้างต้นก็จะถือว่าเสานั้นเป็นเสายาว หรือ SLENDER COLUMN ซึ่งในการออกแบบลักษณะของเสาประเภทนี้เรามักจะทำการควบคุมการออกแบบให้เสาเกิดการวิบัติในรูปแบบ STIFFNESS CRITERION เป็นหลัก สำหรับการออกแบบเสาประเภทหลังนี้ ทางผู้ออกแบบมีความจำเป็นที่จะต้องทำการออกแบบโครงสร้างเสาโดยจะต้องทำการคำนึงถึงผลของความชะลูดของเสาเข้าไปในขั้นตอนของการออกแบบด้วยนะครับ
โดยที่เราจะต้องทำการคำนวณค่า แฟคเตอร์เพิ่มค่าโมเมนต์ดัดในเสา หรือ COLUMN MAGNIFICATION FACTOR โดยที่ค่าแฟคเตอร์นี้จะมีค่ามากกว่า 1.00 เสมอ แต่ ในการคำนวณค่าๆ นี้จะมีขั้นตอนการคำนวณที่ค่อนข้างจะยุ่งยากและยืดยาวมากๆ นะครับ เอาเป็นว่าในโอกาสหน้าผมจะขอมาพูดถึงเฉพาะหัวข้อๆ นี้โดยเฉพาะเลยก็แล้วกันนะครับ เพื่อนๆ ที่สนใจก็สามารถที่จะติดตามกันได้นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1477759332270187
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน 397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449